กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านหนองปรือร่วมใจต้านภัยโรค (COVID-19)
รหัสโครงการ L1526-2-2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหนองปรือ
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,638.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนุชรี อ่อนยิ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.798,99.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
    เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุุบัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โรงเรียนเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ทางภาครัฐได้ออกมาตรการอย่างเข้มข้น เนื่องจากโรงเรียนประกอบด้วย นักเรียน ครูและบุคลากร มาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในโรงเรียน จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ง่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรค COVID-19 จำเป็นต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโรค COVID-19 อาทิเช่น  วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 วิธีการล้างมือ 7 ขั้นตอน และวิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้ปกครอง ด้วย
    ดังนั้น โรงเรียนบ้านหนองปรือ จึงได้จัดทำโครงการบ้านหนองปรือร่วมใจต้านภัยโรค COVID-19 ในโรงเรียนขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลและปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรค COVID-19 สามารถล้างมือได้ถูกต้องตามขั้นตอน และสวมหน้ากากอนามัยได้ถูกวิธี เป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในโรงเรียนและชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   ขั้นตอนการดำเนินงาน     1. เสนอโครงการขอเพื่ออนุมัติ     2. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง     3. ดำเนินงานตามโครงการ 3.1 จัดทำป้ายไวนิลที่เกี่ยวข้องกับโรค COVID-19 ได้แก่ วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19     การล้างมืออย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอน วิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อออนไลน์ของ
    โรงเรียน เช่น เฟสบุ๊ค และไลน์กลุ่มระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง รวมทั้งแจกเอกสาร/แผ่นพับข้อมูล
    ประชาสัมพันธ์ไปให้ผู้ปกครองด้วย       3.2 จัดอบรมความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ให้กับนักเรียนเกี่ยวกับวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
    การล้างมืออย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอน วิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง       3.3 จัดสาธิตวิธีการทำน้ำยาล้างมือ นักเรียนชั้น ป.1-6 ครูและบุคลากรร่วมกันจัดทำน้ำยาล้างมือ
    4. ประเมินผลและสรุปโครงการ     5. รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 1. โครงการบ้านหนองปรือร่วมใจต้านภัยโรค COVID-19 1.1 จัดทำป้ายไวนิลที่เกี่ยวข้องกับโรค
COVID-19   - ค่าไวนิล วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
  - ค่าไวนิล การล้างมืออย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอน   - ค่าไวนิล วิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง   - แผ่นพับความรู้ - ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 x 130 x 3 ผืน เป็นเงิน 1,123 บาท - ค่ากระดาษการ์ดสี ขนาด 120 แกรม จำนวน 2 รีม เป็นเงิน 150 x 2 = 300 บาท รวม        1,423 บาท
1.2 กิจกรรมย่อย จัดอบรมความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 และการทำน้ำยาล้างมือให้กับนักเรียน   - ค่าวิทยากรในการอบรมความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 และการสาธิตการทำน้ำยาล้างมือ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท   - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการทำน้ำยาล้างมือ   - ค่าหัวเชื้อแชมพู (N70, เกลือ, เกล็ดมะนาว)   - ผ้าขาวบาง   - ค่าขวดปั้ม   - ค่าลอนยาง   - ค่าถัง   - ค่าไม้พาย   - ค่าผ้าเช็ดมือแบบแขวน   - ค่าผ้าเช็ดมือ - ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท x 3 ชม. = 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 114 คน = 2,850 บาท


  • ค่าหัวเชื้อแชมพู จำนวน 10 ชุด ชุดละ 100 บาท =
    1,000 บาท
  • ค่าผ้าขาวบาง 5 หลา หลาละ 20 บาท = 100 บาท
  • ค่าขวดปั้ม 1 โหล โหลละ 300 บาท = 300 บาท
  • ค่าลอนยาง = 300 บาท
  • ค่าถัง 3 ใบ ใบละ 100 บาท = 300 บาท
  • ค่าไม้พาย 3 อัน อันละ 75 บาท = 225 บาท
  • ค่าผ้าเช็ดมือแบบแขวน 3 โหล โหลละ 240 บาท = 720 บาท
  • ค่าผ้าเช็ดมือ 9 โหล โหลละ 180 บาท = 1,620 บาท               รวม        9,215 บาท
    รวมจำนวนเงินทั้งหมด    10,638  บาท
    หมายเหตุ  จำนวนเงินถัวจ่ายทุกรายการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนรู้วิธีการล้างมือที่ถูกต้อง และวิธีการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง     2. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำน้ำยาล้างมือและเย็บหน้ากากอนามัยได้
        3. นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการล้างมือและการสวมหน้ากากอนามัย     4. นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติจริงและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นและคนในครอบครัวได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2565 10:30 น.