กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 รพ.สต.บ้านฝาละมี ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L339-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบ้านฝาละมี
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19ของกลุ่มประชากร 608 ใน ตำบลหารเทา
30.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่แพร่ระบาดเป็นวงกว้างและรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นและมีรายงานผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้น สถานการณ์การ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ในวันนี้จำนวน 23,618 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,958,162 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 734,727 ราย หายป่วย 18,939 ราย เสียชีวิตสะสม 1,372 ราย จำนวนฉีดวัคซีนสะสม 124,187,243 โดส เข็มที่1 คิดเป็นร้อยละ 77.2% เข็มที่2 คิดเป็นร้อยละ 71.6 % เข็มที่3 คิดเป็นร้อยละ 29.7 % ของประชากร สถานการณ์การ COVID-19 ในจังหวัดพัทลุงณ วันที่ เมษายน 2563 ถึง 1 มีนาคม 2565 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 10,960 ราย หายป่วยสะสม 9,811 ราย เสียชีวิตสะสม 138 ราย อัตราตายต่อแสนประชากร 42.58 จำนวนฉีดวัคซีนสะสม 124,187,243 โดส เข็มที่1 คิดเป็นร้อยละ 77.2% เข็มที่2 คิดเป็นร้อยละ 71.6 % เข็มที่3 คิดเป็นร้อยละ 29.7 % ของประชากร สถานการณ์การ COVID-19 ในตำบลหารเทาณ วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 2 มีนาคม 2565 ผู้ป่วยยืนยันสะสม 627 ราย เสียชีวิตสะสม 16 ราย อัตราตายต่อแสนประชากร 143.83 จำนวนฉีดวัคซีนเข็มที่1จำนวน 4,564 คน คิดเป็นร้อยละ 68.67%เข็มที่ 2 จำนวน 1,988 คน คิดเป็นร้อยละ 76.26% นั้น ในปัจจุบันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะใช้มาตรการ ป้องกันควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่น คัดกรองและเฝ้าระวังโรค กักตัวผู้มีความเสี่ยงสูง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า งดจัดกิจกรรมที่รวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทำความสะอาดสถานที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น แต่สิ่งที่เป็นความหวังของรัฐบาลและประชาชนในขณะนี้ คือ วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้น ๆ ว่าวัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้มีการเตรียม ความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีน เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้มากที่สุดเท่าที่ศักยภาพของประเทศจะดำเนินการได้ ประชาชนตำบลหารเทา ยังขาดความตระหนักในการป้องกันตนเอง ไม่ไปรับบริการฉีดวัคซีนยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด และอัตราการตายสูงมาก ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 ตำบลหารเทาปี2565 ขึ้นเพื่อกระตุ้น สร้างความตระหนักในการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 โดยการรับบริการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 80 ลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราการตายลงจนไม่เป็นปัญหาสุขภาพซึ่งส่งผลให้ประชาชนของตำบลฝาละมี มีคุณภาพชีวิตทีดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของคนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

0.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มร้อยละความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19ของกลุ่มประชากรในเขตรับผิดชอบ

ร้อยละ 80 ของความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19ของกลุ่มประชากรในเขตรับผิดชอบ

30.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,100.00 0 0.00
10 - 15 มิ.ย. 65 การประชุมชี้แจง การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 0 1,000.00 -
10 มิ.ย. 65 - 30 ก.ค. 65 การออกรณรงค์ ประชาสัมพันธ์การรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 0 6,000.00 -
10 มิ.ย. 65 - 31 ส.ค. 65 การให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุกในพื้นที่ 0 19,800.00 -
25 ก.ค. 65 - 25 ส.ค. 65 การติดตาม สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 3,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ของคนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง
  2. ร้อยละ 80 ของความครอบคลุมการฉีดวัคซีนโควิด-19ของกลุ่มประชากรในเขตรับผิดชอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 00:00 น.