กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
รหัสโครงการ 65-L2981-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนประ
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 พฤษภาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 8,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารียา มูซอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาราณัท อาเส็น
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 88 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองนักเรียน และครูในโรงเรียน
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การแพร่บาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นโรคร้ายแรง ส่งผลกระทบให้โรงเรียนหยุดการเรียนการสอนต่อเนื่องมายาวนาน ซึ่งในขณะนีี้สถานการณ์การแพร่ระบาดได้ลดน้อยลง ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covid free setting (เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้นโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครู และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิกรุกในกลุ่มบุคลากรในสังกัดเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ และวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 นี้ โรงเรียนบ้านควนประ จะเปิดภาคเรียนการสอน on-site ทางโรงเรียนจึงมีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในโรงเรียน มีการวัดอุณหภูมิร่างกาย การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่ก่อนเข้าโรงเรียนทุกครั้ง และการสวมหน้ากากอนามัย และที่สำคัญต้องมีการตรวจ ATK ของครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนในวันเปิดเรียนทั้งหมด 88 คน แต่งทางโรงเรียนยังขาดงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องตรวจ ATK ให้กับครู บุคลากรและนักเรียน ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) เพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ในโรงเรียนประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อยุติการแพร่ระบาดให้ได้โดยเร็ว เพื่อได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข ซึ่งการดำเนินและมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิกรุกในกลุ่มบุคลากรและนักเรียนในสังกัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ โรงเรียนบ้านควนประ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดคัดกรองให้คณะครูบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องตั้งด้วย ATK และติดตามการดูแลอย่างใกล้ชิด

นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องตั้งด้วย ATK และติดตามการดูแลอย่างใกล้ชิด ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ที่มีความเสี่ยงสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ติดเชื้อโรคโควิด - 19

คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียน ที่มีความเสี่ยงสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ติดเชื้อโรคโควิด - 19 ร้อยละ 100

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,800.00 0 0.00
17 พ.ค. 65 - 30 มิ.ย. 65 คัดกรอง ATK ให้กับนักเรียนและครูในโรงเรียน เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./และผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ 0 8,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนำโรคระบาดในชุมชน

  2. คณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวรวมถึงบุคคลในท้องถิ่นสามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด - 19

3.มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2565 13:30 น.