กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟันดี ชีวีสุขทุกช่วงวัย ประจำปี 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 เมษายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีเนาะ กะโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจฟัน ร้อยละ 84.7 มีปัญหาฟันถาวรผุ ร้อยละ 52 โดยพบว่ามีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 31.5 มีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 12.2 เคยปวดฟัน ร้อยละ 36.7 และเคยหยุดเรียนเพราะไปทำฟัน ร้อยละ 12.2 มีเพียงร้อยละ 48 ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีฟันผุ ซึ่งถ้าไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีรวมถึงพฤติกรรมการบริโภค ปัญหาสุขภาพช่องปากจะสะสมและมีความรุนแรงจนอาจเกิดการสูญเสียฟันถาวรตั้งแต่เด็ก แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านการแปรงฟัน เพียงร้อยละ 9.5 แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน ร้อยละ 59.7 และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเสี่ยง ได้แก่ ดื่มน้ำหวานและน้ำอัดลม มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 52 กินขนมกรุบกรอบ และลูกอม มากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 28.9 และ 21.4 ตามลำดับ (แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข, 2564) บริโภคขนมเหล่านี้ สำหรับกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานอีกทั้งยังพบปัญหาเหงือกอักเสบ ร้อยละ 50.1 เกิดร่วมกับหินน้ำลายและเริ่มเป็นโรคปริทันต์ที่มีร่องลึก 4-5 มิลลิเมตร ร้อยละ 19.8 โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธ์ที่อยู่ในช่วงวัยที่มีบุตรได้ โดยทั่วไปจะมีอายุตั้งแต่ 15–49 ปี และผู้ที่มีฟันผุยังไม่ไปรับการรักษา ร้อยละ 47.4 นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมการดูแลความสะอาดในช่องปากที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ พฤติกรรมและความถี่ในการแปรงฟันเนื่องจากผลของการตั้งครรภ์ทำให้มีอาการอาเจียนบ่อยๆ ทำให้ไม่สะดวกในการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาหลัก คือ ไม่มีฟันธรรมชาติเหลือพอในการบดเคี้ยวอาหาร มีฟันเหลืออยู่ในช่องปากเฉลี่ย 4 ใน 6 ส่วนต่อคน มีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ร้อยละ 83 สูญเสียฟันทั้งปาก ร้อยละ 7.2 โดยกลุ่มวัยนี้มีความจำเป็นในการรักษา พบว่า ความจำเป็นสูงสุดอันดับแรก คือ การถอนฟัน ร้อยละ 53.6 สำหรับการใส่ฟันเทียมทั้งปาก พบว่า ร้อยละ 6.5 และเพิ่มขึ้นชัดเจนเป็นร้อยละ 18.9 และยังพบปัญหา ฟันผุรากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปาก ภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะในช่องปากที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำเป็นต้องรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพช่องปากใน ทุกกลุ่มวัยอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก จึงได้จัดทำโครงการฟันดี ชีวีสุขทุกช่วงวัย ประจำปี 2565 เพื่อให้ความรู้โรคในช่องปากและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับทุกช่วงอายุ เพื่อให้มีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องแล้วยังมีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,000.00 3 34,000.00
21 ก.ค. 65 กิจกรรมในกลุ่มผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี คลินิก WCC 0 11,000.00 11,000.00
22 ก.ค. 65 กิจกรรมในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 0 11,500.00 11,500.00
23 ก.ค. 65 กิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ 0 11,500.00 11,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ทุกกลุ่มอายุมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
  2. เด็กวัยเรียนได้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ
  3. เพื่อให้ทุกกลุ่มอายุมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและป้องกันฟันผุได้ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 09:09 น.