กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการมาตรการป้องกันและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน (ON SITE ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โรงเรียนบ้านกรอบ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมาตรการป้องกันและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน (ON SITE ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โรงเรียนบ้านกรอบ
รหัสโครงการ 65-L5170-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกรอบ
วันที่อนุมัติ 6 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรณิชชา ไชยพูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโส อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปถึง 3 กันยายน 2564 และในปี 2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 256 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์เผยแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564 นั้น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของปรเทศ โดยเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึง4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่จังหวัดที่ประกาสเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดถึง 29 จังหวัด เนื่องจากมีการติดเชื้อแบบกลุ่มใหม่ๆ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อบุคลากรและสถานที่ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ ซึ่งจังหวัดปัตตานี อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อีกทั้งยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาด เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาเชิงรุกและการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมาจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของบุคคลทั่วไปและผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ โดยมีภาวะโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูง ใน 7 กลุ่มโรค เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง และโรคทางเดินหายใจ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความสี่ยงต่อการรับเชื้อ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข จึงต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกัน ตามหลัก NEW NORMAL และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอต่อการควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ทางโรงเรียนบ้านกรอบจึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ ON-SITE จะต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด โรงเรียนให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test kit (ATK) และต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (covid-19) ดังนั้นโรงเรียนบ้านกรอบจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covid-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโควิด-19

นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโควิด-19 ร้อยละ100

0.00
2 2.เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19

นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีความปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ร้อยละ100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นวางแผน 1.1ประชุมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจ้งรายละเอียดของงานและโครงการ 1.2เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1สำรวจจำนวนนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน ที่ต้องคัดกรองไวรัสโควิด-19 2.2ดำเนินการจัดซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit ATK และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรอง 2.3เชิญเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.ควนโส และสาธารณสุขอำเภอควนเนียง มาดำเนินการตรวจคัดกรองไวรัสโควิด-19ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียน 3.ขั้นติดตามประเมินผลโครงการ 3.1ผลการคัดกรอง Antigen Test Kit ATK
4.ขั้นรายงานผลโครงการ 4.1รายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา 4.2รายงานผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนทราบ 4.3สรุปความคิดเห็นที่ได้รับจากการดำเินกิจกรรมเพื่อนำสู่การพัฒนางาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโควิด-19 พร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบ On-site ทุกคน ถูกต้องตามหลักคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 11:24 น.