กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวคลองแหร่วมใจ ไวรัสตับอักเสบบี - ซี หมดไปจากคลองแห ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ L7255-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 48,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันติ เหมมันต์
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรที่เสี่ยงต่อการเ็นเป็นโรคมะเร็งตับ
25.34
2 ร้อยละประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี
23.20
3 ร้อยละกลุ่มเสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี
20.30

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไวรัสตับอักเสบบี และ ซี เป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับแข็งและมะเร็งตับ อันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พบผู้ติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี ในระดับที่สูงและมีแนวโน้มพบผู้เสียชีวิตจากตับแข็งและมะเร็งตับเพิ่มขึ้น คาดประมาณผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีเรื้อรัง ประมาณ 2.2 – 3 ล้านคน ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีเรื้อรัง ประมาณ 3 – 8 แสนคน โดยพบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีและซี ชนิดเรื้อรังกระจายตัวแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค พบมากในประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป การเร่งรัดจัดการแก้ไขปัญหาโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังอย่างบูรณาการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการกำจัด โรคไวรัสตับอักเสบให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2573 จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนางานให้เข้มแข็งและเป็นระบบ และต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน การดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ด้วยการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี รวมถึงให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี หากตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ในพื้นที่สามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ได้ง่าย สะดวก และได้รับการส่งต่อเข้าสู่กระบวนการทางสาธารณสุขให้ได้รับการรักษาต่อไป อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นและยั่งยืน จากการสำรวจประชากรกลุ่มเสี่ยงพบว่า ประชากรที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะและรีไซเคิลขยะ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพและโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีจากการถูกของมีคมทิ่มตำ ดังนั้นในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพของกลุ่มอาชีพนี้ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความปลอดภัยในการทำงาน ประกอบกับทางกรมควบคุมโรค กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สนับสนุนชุดตรวจคัดกรองหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี แบบเร็ว (Repid test) งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพประชากรที่เกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะและรีไซเคิลขยะภายในเขตเทศบาลเมืองคลองแห จึงได้จัดทำโครงการชาวคลองแหร่วมใจ ไวรัสตับอักเสบบี- ซี หมดไปจากคลองแห ขึ้น เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ และส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษา ให้ได้รับการรักษา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เพื่อทราบสถานะการติดเชื้อและเข้าถึงการรักษา รวมถึงได้รับการป้องกันจากโรคไวรัสตับอักเสบ บีและ ซี หากตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี และตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี (ร้อยละ))

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี และซี (ร้อยละ)

40.00 90.00
2 เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ในประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี แต่ไม่แสดงอาการ (ร้อยละ)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสงสัยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี และซี ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง (ร้อยละ)

40.00 90.00
3 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ได้อย่างเหมาะสม (ร้อยละ))

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี เพิ่มขึ้นหลังรับการอบรม (ร้อยละ)

40.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 48,910.00 2 0.00
1 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงาน 0 500.00 -
1 - 30 มิ.ย. 65 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 1,520.00 -
12 - 11 มิ.ย. 65 ตรวจคัดกรอง ไวรัสตับอักเสบบี และซี 0 10,890.00 0.00
5 - 6 ก.ค. 65 อบรมให้ความรู้เรื่องไวรัสตับอักเสบบี และซี 0 35,000.00 0.00
31 ส.ค. 65 ประชุมสรุปโครงการ 0 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องไวรัสตับอักเสบบี และซี

2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี และซี และได้รับความรู้เบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตัวเอง

3.ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 11:51 น.