กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศพด.กาลูปัง
รหัสโครงการ 65-L-4155-03-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ สะมะอิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัย 0-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนหรือปฐมวัย มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารอันเนื่องมาจากสาเหตุการสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่าและยังไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้นโภชนาการที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายต้องการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการ เด็กอายุระหว่าง 0-5 ปี มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยเฉพาะด้านร่างกายมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่
จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย ด้วยเหตุนี้ เด็กวัยก่อนเรียนจึงควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลาย วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริมให้เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ร่างกายเด็กต้องการในแต่ละมื้อ แต่ละวัน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนและปลอดภัย จึงจะสามารถป้องกันแก้ไข และฟื้นฟูภาวะทุพโภชนาการของเด็กได้ ในการนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ได้รับการขอความร่วมมือจากสถาบันนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์ เรื่องการขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่น ซึ่งพบว่าปัญหาที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในส่วนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคือ ศพด.ยังไม่มีการกำหนดนโยบายด้านอาหาร รวมถึงระบบการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนา ซึ่งการดำเนินการด้านอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง มีการจัดอาหารกลางวันและอาหารเช้า ให้เด็กเล็กภายในศพด.กาลูปัง ได้รับประทานทุกวัน แต่ยังไม่ได้มีการติดตามและประเมินผลภาวะทุพโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่องและเป็นรายบุคคล
ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศพด.กาลูปัง ขึ้น โดยมีกิจกรรมจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการให้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว ผู้ปกครอง มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ให้แก่เด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง การจัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน หรือน้ำหนักน้อย ผอม เตี้ย แล้วแจ้งให้ผู้ปกครอง หรือขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.กาลูปัง ในการแก้ไขปัญหาในกรณีที่พบว่าเด็กมีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเล็กภายในศพด.กาลูปัง มีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่สมบูรณ์ตามวัยและมีพัฒนาการที่ดี
  2. เกิดการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กเล็กใน ศพด.กาลูปัง
  3. เกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการมีภาวะโภชนาการที่ดีในเด็กเล็กภายใน
      ศพด.กาลูปัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565 13:55 น.