กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยทานผัก
รหัสโครงการ 65-L4155-03-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 1 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ สะมะอิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 5,000.00
รวมงบประมาณ 5,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาเด็กไม่กินผักเป็นปัญหาใหญ่ของเด็กไทยจำนวนมาก สำนักโภชนาการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เด็กไทยกว่า 90% กินผักผลไม้น้อยโดยเฉพาะเด็กยิ่งเล็กยิ่งบริโภคผักน้อยลงไปอีก ในปัจจุบันเด็กก่อนวัยเรียน ไม่ค่อยชอบทานผักหรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้ พ่อแม่ ผู้ปกครองหรือคนในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ลูกกินผักและผลไม้ ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของตัวเองและครอบครัวให้ได้ก่อน จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ในการปลูกฝังและฝึกฝนให้ลูกได้กินผักและผลไม้ที่หลากหลายตั้งแต่วัยทารก ก็จะส่งผลให้ลูกสามารถกินผักและผลไม้ได้หลากหลายเมื่อโตขึ้น       แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้เด็กและผู้ปกครองได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและการดูแลสุขภาพ ในเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยทานผัก เพื่อให้เด็กได้ลงมือปลูกผักด้วยตัวเองร่วมกับครูและผู้ปกครองภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การทานผักที่ปลอดสารพิษ การทำเมนูจากผักง่าย ๆ ที่เด็กๆ ชอบและ มีส่วนร่วมในการทำ เพื่อปลูกฝังให้เด็กคุ้นชินกับการกินผัก ผลไม้ ส่งผลให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย ได้รับสารอาหารครบถ้วน ไม่เป็นโรคขาดสารอาหารหรืออยู่ในภาวะทุพโภชนาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงการส่งเสริมให้เด็กกินผักผลไม้ 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีเกี่ยวกับการบริโภคผักให้แก่เด็กและผู้ปกครอง 3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเล็กและผู้ปกครองปลูกผักทานเอง ซึ่งช่วยให้เด็กๆ ได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
  • จำนวนเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ทานผักร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65
1 จัดฝึกอบรม(1 เม.ย. 2565-1 ก.ย. 2565) 5,000.00          
รวม 5,000.00
1 จัดฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 5,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 65 - 1 ก.ย. 65 จัดฝึกอบรม 20 5,000.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง       2. ดำเนินงานตามโครงการ
            2.1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร ครูผู้ดูแลเด็ก เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานผักวิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดอาหารเมนูผักสำหรับเด็ก
            2.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักร่วมกับผู้ปกครองและเด็กเล็กในบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กและนำผัก ที่ได้จากโครงการไปประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กเล็ก       3 สรุปและรายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงการส่งเสริมให้เด็กกินผัก     2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดีเกี่ยวกับการบริโภคผักให้แก่เด็กและผู้ปกครอง     3. เด็กเล็กและผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปังได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2565 13:57 น.