กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคลองน้ำใสร่วมใจ ผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพช่องปาก ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L4117-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 24,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปารีณา มะสะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 24,360.00
รวมงบประมาณ 24,360.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย เป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2564 (กองทันตสาธารณสุข,๒๕๔๙) ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป คือ ร้อยละ 40 ของผู้สูงอายุมีฟันแท้อยู่ในสภาพใช้งานได้ อย่างน้อย 20 ซี่ขึ้นไป จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพจังหวัดยะลาในปี 2564 ผู้สูงอายุมีฟันแท้อยู่ในสภาพใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป ร้อยละ 21.42 แต่จากกการสำรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลองน้ำใส ในเดือน กุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 177 คน พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันแท้อยู่ในสภาพใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 8.47 เมื่อเปรียบเทียบกับ รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพจังหวัดยะลา ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ อาจส่งผลต่อสุขภาวะในช่องปากของผู้สูงอายุในอนาคต       ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ อสม รวมทั้งคนในชุมชน ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนมาประยุกต์ใช้ตามภูมิปัญญาชาวบ้านโดยการจัดทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพร เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อจากท้องตลาดและสามารถทำใช้ในครัวเรือนได้ พร้อมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีต่อไป จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนารูปแบบเกี่ยวกับการดูแลการดูแลสุขภาพช่องปากโดยมีคนในชุมชนเป็นแกนนำ

 

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชุมชน

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาทักษะในการทำความสะอาดช่องปากของผู้สูงอายุ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 252 24,360.00 2 24,360.00
2 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 พัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 12 5,640.00 5,640.00
2 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 พัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับวิธีชุมชนให้กับผู้สูงอายุ 240 18,720.00 18,720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชุมชนได้
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น
    3 ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจสุขภาพช่องปาก
    4 เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพผู้สูงอายุ
    5 ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมสามารถทำน้ำยาบ้วนปากจากสมุนไพรได้ด้วยตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2565 11:23 น.