กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารดีมีประโยชน์ในเด็กวัยเรียน
รหัสโครงการ 2565-L6896-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 26 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 36,465.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชญาภา ขันทกะพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะทุพโภชนาการ คือ ภาวะที่ร่างกายร่างกายได้รับสารอาหารไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ทั้งในแง่ปริมาณและความครบถ้วน จึงทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ทั้งภาวะเตี้ย แคระแกร็น ผอมแห้งหรือมีน้ำหนักเกิน   อาหาร คือ สิ่งที่บริโภคเข้าไปแล้วให้ประโยชน์ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดยไม่มีพิษภัยหรือให้โทษแก่ร่างกาย อาหารจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียนซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโตและเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ แต่ช่วงวัยนี้อาจจะยังไม่ทราบถึงประโยชน์และโทษของอาหารบางชนิดเพราะใช่ว่าอาหารทุกประเภทจะมีประโยชน์ ดังนั้น จึงต้องมีการแนะนำชี้แนะเรื่องการรับประทานอาหารให้แก่เด็กวัยนี้อย่างเหมาะสมตามช่วงวัย อาทิเช่น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ อาหารต้องมีความหลากหลายปริมาณอาหารต้องพอเหมาะ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมจากสถานการณ์ภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนของนักเรียนวัดควนวิเศษ นักเรียนที่มีภาวะสูงดีสมส่วนลดลงจากร้อยละ 69.23 เป็นร้อยละ 66.82 ภาวะอ้วน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.62 เป็นร้อยละ 10 เป็นเหตุให้เด็กวัยเรียนมีปัญหาทุพโภชนาการ ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหาร จะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียนและด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาข้อมูลสุขภาพของนักเรียน ปี พ.ศ.2564 และบริบทสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน พบว่าโรงเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เสี่ยงของนักเรียนที่จะต้องแก้ไขอีกมาก และในปัจจุบันนั้นพบว่ามีนักเรียนที่มีปัญหาโรคอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน ร้อยละ 23.2 ของนักเรียน ในขณะเดียวกันก็พบว่ายังมีนักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 9.6 ของนักเรียน ซึ่งเกิดจากนักเรียนยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเองทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไป การเลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์และขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียนที่เอื้อต่อการทำให้นักเรียนมีปัญหาโรคอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถึงจะมีจำนวนการเกิดปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไปไม่มากแต่ถ้าหากไม่มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในโรงเรียนให้กับนักเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ ในการเลือกรับประทานอาหาร ตามหลักโภชนาการ ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อเป็นการติดตามและเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมภาวะทุพโภชนาการของผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีภาวะทุพโภชนาการลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมประชุม(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 8,900.00        
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 21,515.00        
3 กิจกรรมติดตามและเฝ้าระวัง(27 พ.ค. 2565-27 ก.ย. 2565) 6,050.00        
รวม 36,465.00
1 กิจกรรมประชุม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 8,900.00 1 0.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือ กำหนดแนวทางการดำเนินงานและหากลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ 0 8,900.00 0.00
2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 21,515.00 1 5,025.00
27 พ.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 2. กิจกรรมให้ความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารแก่เด็กนักเรียน 0 21,515.00 5,025.00
3 กิจกรรมติดตามและเฝ้าระวัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 6,050.00 1 0.00
27 พ.ค. 65 กิจกรรมติดตาม/เฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการในผู้เข้าร่วมโครงการฯ 0 6,050.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหาร สามารถที่จะเลือกรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการได้
  2. นักเรียนมีสุขภาพดี และภาวะโภชนาการที่ตามเกณฑ์มาตรฐานของสาธารณสุข
  3. นักเรียนมีความรู้ถึงประโยชน์ของอาหารที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2565 10:49 น.