กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ “โครงการรู้เร็ว รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2565” อสม.หมู่ที่3 บ้านโตนนอก
รหัสโครงการ 65-L1521-03-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านโตนนอก
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัฒนา พลหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรืออัมพฤษ์ อัมพาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศองค์การอัมพาตโลก (World Stroke Oraninztion :WSO ) รายงานสาเหตุการตายด้วยจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี ทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 5 ของประชากรอายุมากกว่า 15 -59 ปี และในแต่ละปีมีคนทั่งโลกเสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งมากกว่าคนทั่วโลกที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ วัณโรค และโรคมาเลเรียรวมกันทั้งนี้องค์การอัมพาตโลกคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ 2565 คนทั่วโลกจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 6.5 ล้านคน ในประเทศกำลังพัฒนาประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปี 150,000 รายโรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศปัจจัยด้านพฤติกรรมเช่นการออกกำลังกายอาหารการสูบบุหรี่ดื่มสุราและปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิตระดับไขมันในเลือดและเบาหวานปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับที่แตกต่างกันซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น
จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรังมี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยหลายรายต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และบางรายต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก จากการคัดกรองผู้ป่วยในโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบว่าร้อยละของผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน CVD Risk มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองกว่าร้อยละ 20 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจจึงได้จัดทำ “โครงการ รู้เร็ว รู้ทันโรคหลอดเลือดสมอง ปีงบประมาณ 2565” ขึ้นเพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงอาการที่ผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ และมารับการรักษาได้ทันเวลา ตามเกณฑ์มาตรฐานในการดูแลรักษา เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงอาการที่ผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ และมารับการรักษาได้ทันเวลา ตามเกณฑ์มาตรฐานในการดูแลรักษา เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลกะลาเสมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสมซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่สุขภาพดี ไม่เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต และและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงอาการที่ผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ และมารับการรักษาได้ทันเวลา 3. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ 4. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง
  1. ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
    1. ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงอาการที่ผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ และมารับการรักษาได้ทันเวลา
    2. ร้อยละ 80 ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
    3. ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 1 เขียนโครงการ 2 ร่วมกันประชุมวางแผน 1 การเขียนโครงการ 2 การนำเสนอโครงการ 3 การเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง 4 กิจกรรมจัดอบรมเพื่อให้ความรู้(1 เม.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00            
รวม 0.00
1 1 เขียนโครงการ 2 ร่วมกันประชุมวางแผน 1 การเขียนโครงการ 2 การนำเสนอโครงการ 3 การเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง 4 กิจกรรมจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
    1. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงอาการที่ผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ และมารับการรักษาได้ทันเวลา
    2. เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
    3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 10:22 น.