กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “น้ำผุดรุ่นใหม่ ร่วมใจลดน้ำตาล”
รหัสโครงการ 65L1498-1-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.น้ำผุด
วันที่อนุมัติ 19 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,974.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.น้ำผุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและพบว่าผู้สูงอายุเหล่านั้นมักมีโรคประจำตัวร่วมด้วย ซึ่งโรคประจำตัวที่พบได้บ่อย คือ โรคเบาหวาน ดังจากข้อมูลสถิติสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563ได้ทำการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,767,265 คน คิดเป็นร้อยละ 45.09 โรคเบาหวาน จำนวน 1,688,246 คน คิดเป็นร้อยละ 20.21 โดยในส่วนของจังหวัดตรัง พบว่าสาเหตุการป่วยของผู้ป่วยนอกในจังหวัดตรัง พ.ศ.2563 จากประชากรที่ป่วยจำนวน 288,125 คน4 อันดับแรก ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเนื้อเยื่อผิดปกติ โรคของหลัง และโรคเบาหวานตามลำดับ โดยโรคเบาหวานพบจำนวน 32,025 คน จึงเห็นได้ว่าโรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุในทุกพื้นที่ ซึ่งหากผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแล้ว ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ ผู้จัดทำจึงได้จัดโครงการนี้ เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพให้คนในชุมชนที่เป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ให้สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง โดยจากข้อมูลทางสถิติสาธารณสุข ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 พบว่าจากประชากรตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ทั้งหมด 3,838 คนมีโรคที่พบในผู้สูงอายุมากที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2198 คน รองลงมาคือโรคเบาหวาน จำนวน 665 คน และพบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ดีของตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2559, 2560, 2561, 2562 และ 2563 มีแนวโน้มลดลง คือ 18.89, 21.03, 21.67, 29.68 และ 29.1 ตามลำดับ ผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นในตำบลน้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง เพื่อจัดโปรแกรมสุขภาพให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ โดยเริ่มจากการพูดคุยหาสาเหตุที่ทำให้น้ำตาลสะสมสูง จากนั้นจึงร่วมกันหาวิธีปรับพฤติกรรมตามวิถีชีวิตของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,974.00 0 0.00
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อการให้ความรู้ และติดตามการปรับพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วย 0 12,100.00 -
1 พ.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน 0 13,874.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับตัวโรค ทั้งสาเหตุที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง การดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ทั้งการรับประทานอาหารที่ดี การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้ยาที่ถูกวิธี และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดได้จากน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ 2.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตนเองให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ 3.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมน้ำตาลสะสมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนกับคนในครอบครัวและชุมชน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดียิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 00:00 น.