กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ปี 2565
รหัสโครงการ 65 - L8426 - 2 - 09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม ผู้สูงอายุ (2 5 8) บ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 27,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุชิรา แสนสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.283,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพและระบบการพัฒนาคนยังไม่สามารถปรับตัวรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดโรคฟันผุในทุกกลุ่มวัย กรมอนามัยเปิดเผยผลสำรวจสุขภาพช่องปากในปี ๒๕๖๐ พบว่าเด็กไทยเฉลี่ยร้อยละ ๕๐ เป็นโรคฟันผุสูงสุดในเขตภาคใต้ร้อยละ ๖๕ โดยเฉพาะใน ๔ จังหวัดชายแดนใต้ เด็กและผู้สูงอายุเผชิญปัญหาโรคฟันสูงเป็นอันดับ ๑ ใน ๑๐ ไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหารและพบว่า กว่าครึ่งยังไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากอุปสรรคในการเดินทาง ปัญหาสุขภาพช่องปากยังเป็นปัญหาหลักในกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๕ โดยกองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่า ผู้สูงอายุมีการสูญเสียฟันร้อยละ ๙๒ หรือประมาณ ๔ ล้านคน นำไปสู่ความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะ มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งปัญหาดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ความต้องการบริการดังกล่าวลดลงและเข้าสู่ระบบการจัดบริการปกติ และพบว่าผู้สูงอายุที่มีฟันในช่องปาก เป็นโรคฟันผุร้อยละ ๙๖ เป็นโรคปริทันต์ ร้อยละ ๖๒ มีฟันผุที่รากฟัน ร้อยละ ๒๐ ในส่วนของการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง พบว่า มีการแปรงฟันร้อยละ ๘๕ แต่แปรงฟันถูกเวลาคือหลังตื่นนอนตอนเช้าและก่อนนอนเพียง ร้อยละ ๓๑ วิธีแปรงส่วนใหญ่เป็นแบบถูไปถูมา มีการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ ๒๓ ผู้สูงอายุจึงมีโอกาสสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
        ชมรม ผู้สูงอายุ (๒ ๕ ๘) บ้านป่าไผ่ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุ ปี ๒๕๖๕ เพื่อลดการสูญเสียฟัน รวมทั้งสามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง เบื้องต้นได้ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดี และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพจนตลอดอายุขัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง

๑. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ร้อยละ 80

48.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 30,750.00 0 0.00
20 มิ.ย. 65 จัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม 60 7,950.00 -
24 มิ.ย. 65 อบรมให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 60 19,800.00 -
25 ก.ค. 65 ติดตามประเมินผลการการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 60 1,500.00 -
26 ก.ย. 65 ติดตามประเมินผลการการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 60 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุได้รับการฟื้นฟูสภาพช่องปาก สามารถบดเคี้ยวอาหารได้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๒. ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญในการดูแลสุขช่องปาก ลดปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 00:07 น.