กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลใส่ใจสตรี มีสุขภาพดี ตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L4141-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 19 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติของไทย ในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งในผู้หญิงรายใหม่ที่ลงทะเบียนในปี 2562 นอกจากมะเร็งเต้านมที่พบมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งแล้ว มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก และรังไข่ พบเป็นอันดับรองลงมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เข้ามารับการรักษาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยช่วงอายุที่ผู้หญิงเป็นมะเร็งมากอยู่ระหว่าง 45-65 ปี มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งในสตรีที่พบเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ทุกปีจะมีผู้หญิงไทยป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละประมาณ 6,500 คน หรือวันละ 17 คน

โดยผู้หญิงไทยอายุ 30-60 ปี สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากดำเนินการโครงการคัดกรองฯ อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 15 ปี ส่งผลให้ปัจจุบันมีอุบัติการณ์มะเร็งปากมดลูกลดลงเหลือเพียง 11.7 คนต่อประชากรแสนคน เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับสามของมะเร็งที่พบในหญิงไทย โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ 5,513 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 2,251 คน/ปี การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหาโดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30- 60 ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้

จากการสรุปผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปีงบประมาณ 2564 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการตรวจคัดกรองเพียงร้อยละ 32.5 ลดลงจากปีงบประมาณ 2563 ร้อยละ 0.8 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายของตำบลลำใหม่ จะต้องได้รับตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 60 โดยมีสาเหตุมาจากกลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่ไม่เข้ารับบริการยังมีความอาย ไม่กล้ามาตรวจ,กลัวเจ็บ และบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นความสำคัญเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จจึงได้จัดทำโครงการดูแลใส่ใจสตรีมีสุขภาพดีตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2565 โดยโครงการดังกล่าวจะรณรงค์เร่งรัดให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจอย่างจริงจัง และถ่ายทอดประสบการณ์ในการมารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้อื่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 60

60.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 12,000.00 1 12,000.00
2 - 3 ส.ค. 65 อบรมบรรยายให้ความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 100 12,000.00 12,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 60 กลุ่มสตรี อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษา
  3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 70
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 15:55 น.