กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) การควบคุมโรคไข้เลือดออกและวัณโรค ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L4141-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 19 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.583,101.205place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (Joint Investigation Team: JIT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึงความสามารถของบุคลากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมทีมกันเพื่อรับผิดชอบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมีความจำเป็นที่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลลำใหม่ ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐานงานระบาดวิทยา ยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่เฝ้าระวัง ค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันทีและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ การดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลลำใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในด้านการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ (SAT&JIT) การควบคุมโรคไข้เลือดออกและวัณโรค ผนวกกับยุทธศาสตร์ระดับเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมืองยะลา การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) การควบคุมโรคไข้เลือดออกและวัณโรค ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อฟื้นฟูความรู้แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลลำใหม่ ตามหลักวิชาการระบาดวิทยาและควบคุมโรค เตรียมความพร้อมแก่ทีม JIT ในการดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ ตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมกันรณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งจะต้องได้รับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูความรู้และเฝ้าระวังเหตุการณ์แก่ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) ตำบลลำใหม่ ตามหลักระบาดวิทยา

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการเฝ้าระวังโรคเพิ่มขึ้น

90.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายชุมชนมีความรู้ สามารถทำนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมใช้ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกยุงลายในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายผลิตและใช้นวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

80.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 12,000.00 2 12,000.00
4 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้และทำนวัตกรรมร่วมกัน 50 6,000.00 6,000.00
5 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้/คัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง 50 6,000.00 6,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ทุกองค์กรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องการควบคุมป้องกันโรค สามารถลดอัตราป่วยของโรค ตลอดจนสามารถดำเนินการควบคุมป้องกันโรคด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 22:11 น.