กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อด้วยวัคซีน
รหัสโครงการ 60 - L8426 - 1 -16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรอยีเจ๊ะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.283,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การที่จะพัฒนาประเทศหรือสังคมใดสังคมหนึ่งให้มีความเจริญก้าวหน้าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคมนอกจากนี้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชนถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติกระทรวงสาธารณสุขได้ยึดหลักแนวทางการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขด้วยบริการ๕ประเภทคือการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และ การคุ้มครองผู้บริโภค ทั้ง๕ประเภทนี้จะเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันแต่การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคและความพิการ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาในการดำรงชีวิตในหลายๆ ด้าน ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยก็ยังเป็นอีกปัญหาหนึ่ง โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพอนามัยในเด็กอายุต่ำกว่า๕ ปีที่ต้องผจญกับโรคต่างๆ ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรควัณโรค โรคคอตีบ โรคไอกรนโรคบาดทะยักโรคโปลิโอโรคหัดและโรคไข้สมองอักเสบ ชุมชนหมู่ที่ ๒, ๕, ๗ และ ๘ ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ ยังมีปัญหาความครอบคลุมในการรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ปี จากสถิติการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ พบว่าบางช่วงอายุยังมีความครอบคลุมต่ำอยู่ โดยเฉพาะ อายุครบ ๑ ปี และ ๕ ปี อยู่ที่ร้อยละ ๘๘.๒๙ และ ๘๐.๐๕(จากข้อมูลสรุปรายงานประจำปี รพ.สต.บ้านป่าไผ่ ปี ๒๕๕๙) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำหนดคือ ต้องมีอัตราความครอบคลุมร้อยละ๙๕ ขึ้นไป
จากสถิติข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าอัตราความครอบคลุมในการรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก๐-๕ปี ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ บางช่วงอายุ เช่น ๑ ปี และ ๕ ปี ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำอยู่ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันตรายที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กจำนวนมากต้องเสียชีวิตเจ็บป่วยหรือพิการโรคดังกล่าวหากมิได้มีการควบคุมและป้องกันความเสียหายก็จะเกิดขึ้นมากมายดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์อายุ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่ากายและจิตใจการเจริญเติบโตของเด็กก็จะเป็นไปตามวัยสามารถดำรงชีวิตในครอบครัวได้อย่างมีความสุขด้วยเหตุดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงได้จัดโครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อด้วยวัคซีนเพื่อขยายในแง่ของความครอบคลุมการรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครบตามเกณฑ์อายุที่ควรจะได้รับ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมวัคซีนครบชุดในเด็กอายุ ๐ – ๕ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ และตระหนักในการนำเด็กมาฉีดวัคซีนตามเกณฑ์อายุ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตันหยงลิมอ ๒. ประชุมชี้แจงทีมงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ในพื้นที่ เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ๓. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ ปี ๔. จัดระบบติดตามเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดโดยให้ อสม.เป็นผู้ติดตาม ๕. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกปฏิบัติงานฉีดวัคซีนเชิงรุก ในรายที่มีปัญหา ๖. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราความครอบคลุมวัคซีนครบชุดในเด็กอายุครบ ๐-๕ ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ ๒. ผู้ปกครองเด็กขาดฉีดวัคซีน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและวัคซีนที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละช่วงอายุ ตลอดจนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความครอบคลุมในการรับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเด็ก ๐-๕ ปี ร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2560 11:46 น.