กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 60 - L8426 - 1 -18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูไวบะดาโอ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.283,101.775place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเน้นการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในระหว่างการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพตลอดจนการดูแลขณะและหลังคลอดที่มีประสิทธิภาพอันจะช่วยส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ลดความพิการตั้งแต่กำเนิด เพราะหากหญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ภาวการณ์ติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกเป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ในด้านความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด รวมทั้งการส่งเสริมให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน โดยจากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านป่าไผ่ในปี ๒๕๕๙ พบว่า หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อย ละ ๙๓.๓๓ (เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ) อัตราหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๘๓ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๖๕) และอัตราหญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการพยาบาลเพียงร้อยละ ๑๐๐.๐๐ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐) และได้เจาะเลือดตรวจพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่มีภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๑๐) ซึ่งถือว่ามีผลการดำเนินงานที่อยู่ในระดับดี แต่อย่างไรก็ตามเรื่องการส่งเสริมองค์ความรู้ และการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะสามี จำเป็นจะต้องดำเนินการต่อเนื่องทุกปี เพราะถือว่ามีความสำคัญที่จะทำให้ระยะเวลาที่ตั้งครรภ์นั้นสามารถ ดูแล ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดจากภาวะเสี่ยงสูง (High Risk ) ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านป่าไผ่จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาอนามัยแม่ และเด็ก เพื่อหวังให้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้รับการป้องกัน และร่วมกัน แก้ไขดูแลอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม

 

2 เพื่อเฝ้าระวังและลดปัญหาภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.วิเคราะห์ข้อมูล/ผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ ปีที่ผ่านมา ๒.เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ๓.ดำเนินงานตามโครงการ - สำรวจและค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ - ประชุมกลุ่มแกนนำ อสม.เตรียมการลงพื้นที่เยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพ ตั้งครรภ์เสี่ยง ภาวะซีด และขาดนัด - จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์/สามี ที่ผ่านการมีบุตรแล้ว และคู่ภรรยา/สามีใหม่ ที่ยังไม่เคยมีบุตร ๔.สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลตนเอง ๒. หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2560 12:50 น.