กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 65-L1516-01-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษ
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 14,435.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวันชัย อุดมพฤกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.651,99.459place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารสกัดจากกัญชามีประโยชน์ ทางการแพทย์ในบางโรคหรือบางภาวะ หากนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในสัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในหลายประเทศได้มี การนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในทางการแพทย์อย่างถูกกฎหมาย ปัจจุบันประเทศไทยได้ออกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 มีผลทำให้สามารถนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาวิเศษและองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวิเศษได้เห็นความสำคัญและเห็นว่ามีความจำเป็น จึงได้จัดอบรม การใช้  สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น โดยหลักสูตรการอบรมครั้งนี้ การนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการอบรมเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถนำไปถ่ายทอดบุคคลอื่นได้ เข้าใจถึงหลักการอนุญาติ การปลูกกัญชาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสามารถแยกความแตกต่าง ระหว่าง “กัญชง” และ “กัญชา” ได้
อีกทั้ง อาสาสมัครสาธารณสุขรับทราบนโยบายการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญา และมีแนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ในชุมชน และสร้างทัศนคติที่ดีแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม.จำนวน 84 คน มีความรู้ประโยชน์และสรรพคุณของกัญชา

 

0.00
2 อสม. อธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา

 

0.00
3 อสม. บอกขั้นตอนการขออนุญาตปลูกกัญชาได้

 

0.00
4 อสม. อธิบายอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูล/ปัญหา/กำหนดเป้าหมาย แผนงานโครงการ
  2. จัดทำโครงการขออนุมัติโครงการ
  3. ชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือ และผู้เข้าร่วมการอบรม
  4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ในการดำเนินงาน
  5. จัดอบรมแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ถ่ายทอดความรู้
  6. ผู้เข้าร่วมการอบรมทำแบบประเมิน ก่อน – หลังการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ถึงประโยชน์จากต้นกัญชาได้

2.อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถอธิบายเกี่ยวกับการขออนุญาติการปลูกกัญชาได้

3.อาสาสมัครสาธารณสุข สามารถแยกความแตกต่าง ระหว่าง “กัญชง” และ “กัญชา” ได้

4.เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ในการใช้สมุนไพรพื้นบ้านดูแลตนเอง

5.อาสาสมัครสาธารณสุข ทำแบบทดสอบก่อน-หลัง ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2565 14:13 น.