กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3020-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมออกกำลังกายสตรีบ้านปลักปรือ
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 17,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิตร บุญยอด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุกๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนองค์กรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญาและจิตวิญญาณ มีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุข ดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดี พอประมาณ มีเหตุผลมีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดี ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวล้อมที่แอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว และหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอซึ่งจากนโยบายสร้างนำซ่อมของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุข โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม กลุ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เช่น แอโรบิค รำไม้พลอง บาสโลบ โยคะ ฟุตบอล เซปัคตะกร้อ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู้สุขภาพแข็งแรง สุขภาพจิตดี ส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียนว่าเต้นแอโรบิคเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
  จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้การรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกายไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกายซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพต่อไป เช่น ภาวะอ้วนลงพุง รอบเอวเกินอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านปลักปรือ ร่วมกับชมรมออกกำลังกายสตรีบ้านปลักปรือ จึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2565 ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และประชาชนมีทางเลือกในการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อให้มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนาเกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพ และส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดีสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ

อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานลดลง มากกว่าร้อยละ 5

5.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

สมาชิกชมรมร่วมกันออกกำลังกายสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ร้อยละ 95

95.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกที่หลากหลายในการออกกำลังกายและเหมาะสมกับตนเอง

สมาชิกสามารถควบคุมน้ำหนักได้ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 17,900.00 0 0.00
30 ก.ย. 65 ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานและการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน 40 17,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่
2.ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
3.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2565 10:49 น.