กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชน ลด ละ เลิกบุหรี่
รหัสโครงการ 65-L4156-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 35,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูหัมหมัด สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 มิ.ย. 2565 30 มิ.ย. 2565 35,020.00
รวมงบประมาณ 35,020.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 156 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาคุณภาพชีวิตและปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี “วันงดสูบบุหรี่โลก” (World No Tobacco Day) ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ให้ คำขวัญว่า “Tobacco - a threat to development” (บุหรี่ ภัยคุกคามต่อการพัฒนา) โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึง โทษ พิษ ภัย ของบุหรี่ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ผู้สูบหรือครอบครัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลถึงระบบเศรษฐกิจ และสังคมในระดับที่กว้างขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติทั้งสิ้น
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่อไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับ ควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่า ในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11–18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19–25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25–35 ปี และจากข้อมูล Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประชาชนตำบลเกะรอ มีความชุกของการสูบบุหรี่สูงถึง ร้อยละ 19.73 ซึ่งเกินเกณฑ์ตัวชี้วัดในระดับประเทศ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ จึงมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ โดยจัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้ การเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ และรณรงค์การลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เพื่อให้ทุภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและจริงจังในการต่อต้านและร่วมกันรณรงค์การลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ให้มีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผลและนำไปสู่เป้าหมาย “ชุมชน ลด ละ เลิกบุหรี่” ได้ในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกบุหรี่แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ร้อยละ 90 ของคนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และมีวิธีการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ "โทษ พิษ ภัยของบุหรี่และวิธีการเลิก"(23 ก.ค. 2565-26 ก.ค. 2565) 35,020.00                
รวม 35,020.00
1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ "โทษ พิษ ภัยของบุหรี่และวิธีการเลิก" กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 156 35,020.00 1 35,020.00
23 - 26 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้ "โทษ พิษ ภัยของบุหรี่และวิธีการเลิก 156 35,020.00 35,020.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ของประชาชน มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกบุหรี่เพิ่มขึ้น
  2. สถานที่ราชการและมัสยิดในตำบลทุกแห่ง ปลอดบุหรี่ 100%
  3. ลดนักสูบหน้าใหม่ลง ร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2565 10:35 น.