กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลท่าหิน ปี2565
รหัสโครงการ 65-L5240-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน
วันที่อนุมัติ 24 ตุลาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจารุพรรณ โปชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.395,100.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งทีทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พบว่าปัญหาไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากข้อมูล รง.506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่ 1มกราคม2564-31ตุลาคม2564พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 8396 ราย อัตราป่วย 12.64 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต6ราย อัตราป่วยตายรายละ 0.01 จังหวัดสงขลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา(รง.506)สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 ตุลาคม 2564 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 68 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 4.74 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 20.53 รองลงมา 5-9 ปี ร้อยละ 18.27 และพบมากที่สุดในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 55.60 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 15.03 อำเภอสทิงพระ ก็เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม2564-31ตุลาคม2564 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.04 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลท่าหิน ตั้งแต่ปี2560จนถึง2564 พบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2,1,1,1และ0 รายตามลำดับ อัตราป่วย 81,70,40.85,36.38,38.64และ0.00 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน และจากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม2564-31ตุลาคม2564 ตำบลท่าหิน ไม่พบผู้ป่วยไขเลือดออก จากสถานการณ์ภาพรวม คาดว่าโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไข้เลือดออก เนื่องจากมีการระบาดของโรคเกิดในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงค่อนข้างสูงมาก โรคไข้เลือดมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้น จะมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่มีการควบคุม ป้องกันหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประกอบกับสภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างจริงจัง จากทุกๆฝ่ายำม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้น่าชุมชน และประชาชนทั่วไป จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหิน จึงจัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2565 นั้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหิน

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2560-2564)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 2.หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 3.ร้อยละ100ของรพ.สต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่าCIเท่ากับ0

90.00
2 เพื่อกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีค่าHIน้อยกว่าร้อยละ 10

100.00
3 เพื่อให้รพ.สต. โรงเรียน วัด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯปลอดลูกน้ำยุงลาย

1.ร้อยละของครัวเรือน มีค่า HI < 10, CI=0 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับค่าMEDAIN ย้อนหลัง 5ปี

25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,400.00 0 0.00
1 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 65 จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกันรณรงค์ และควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด 0 32,400.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.จัดเวทีประชาคมสุขภาพเพื่อชี้แจงสภาพปัญหา ร่วมแสดงความคิด เพื่อแนวทางแก้ไข้ปัญหา 2.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ 3.จัดซื้อ วัสอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน รณรงค์ และควบคุมโรค เมื่อมีการระบาด 4.ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 5.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ 1.ประชุมเจ้าหน้าที่อสม. 2.จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคระดับตำบล 3.อสม.ร่วมกับเจ้าของบ้านสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกสัปดาห์ และอสม.ส่งรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน 4.รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย และจัดBig Cleaning ในชุมชน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และโรงพยาบาลส่งเสริม เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงปีละ 4 ครั้ง (ธค มีค มิย กย)
5.ให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นไวนิล การจัดนิทรรศการและแจกเอกสาร แผ่นพับ 6.พ่นควันเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย 7.ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ช่วงที่มีการระบาดของโรคในพื้นที่ 7.1 ใช้สเปรย์ฉีดยุงตัวแก่ในบ้านของผู้ป่วยกรณีไม่สามารถพ่นหมอกควันได้ 7.2สนับสนุนโลชั่นทากันยุงแก่ผู้ป่วย ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 และผู้ป่วยที่สงสัยเป็นไข้เลือดออก 7.3พ่นควันเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ในบ้านผู้ป่วยและละแวกบ้านผู้ป่วยในรัศมี100 จำนวน2ครั้งห่างกัน7วัน 8.สุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ และรพ.สต.ปีละ4ครั้ง 9.เฝ้าระวังการเกิดโรคไข้เลือดออกและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นประเมินผล 1.ติดตามผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน/ตำบล 2.ผลการรายงานกิจกรรมการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายโดย อสม.ทุกเดือน 3.สรุป/รายงานสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในตำบลท่าหิน 4.สรุปและประเมินผลภาพรวมของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี (2560-2564) 2.หมู่บ้านชุมชนสามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ 3.รพ.สต. โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ มีค่า CIเท่ากับ0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565 00:00 น.