กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชาชนห้วยกระทิงร่วมใจ ห่างไกลโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L4115-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลห้วยกระทิง
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 27,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลห้วยกระทิง
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 27,900.00
รวมงบประมาณ 27,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อที่นำโดยแมลง นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา โดยเฉพาะโรคไข้มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มีความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งทุกภาคส่วนได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมตลอดมา และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน แต่พบว่าปัญหาโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศเรื่อยมา สาเหตุหนึ่งที่โรคติดต่อที่นำโดยแมลงยังคงคุกคามชีวิตคือการที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ ทำให้ไม่มีการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรค การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การระบาดของโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในตำบลห้วยกระทิง ยังคงมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยที่สม่ำเสมอ มีขึ้นสูงและลดลงเป็นบางปี ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือ ทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคดังกล่าว พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหานี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ตำบลห้วยกระทิง พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย ยังคงมีผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกระทิง เล็งเห็นถึงผลกระทบของโรคติดต่อที่นำโดยแมลง ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกัน ตลอดจนการรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์กลับอยู่ในสภาวะปกติ จึงได้จัดทำโครงการประชาชนห้วยกระทิงร่วมใจ ห่างไกลโรคติดต่อนำโดยแมลง ปีงบประมาณ 2565 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ลดน้อยลง
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลง ร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 20 จากปีที่ผ่านมา
0.00
2 เพื่อให้ประชาชนและนักเรียนมีความรู้ และมีพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และมาลาเรีย

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค
  • ชุมชน และสถานที่ราชการได้รับการพ่นหมอกควัน/ULV จำนวน 2 ครั้ง ต่อปี
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนและนักเรียน มีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก     ๒. จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออกในพื้นที่มีจำนวนลดลง     ๓. ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ตำบลห้วยกระทิงปลอดโรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก     ๔. ช่วยให้ให้ประชาชนตื่นตัวและเฝ้าระวังในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อที่นำโดยแมลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2565 21:27 น.