กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะความดี สร้างสุขภาพดีวิถีชุมชน ปีที่ 4 ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 23 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2565
งบประมาณ 12,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดิสรณ์ กาซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาการกำจัดขยะเป็นปัญหาในภาพใหญ่ของหลายๆ ประเทศ ซึ่งประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควันจากการเผาขยะ และเกิดก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้เกิดสารตกค้างทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warmming) ดังนั้น ทางสภาเด็กและเยาวชนตำบลตันหยงโป เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม โดยสอดคล้องกับพื้นที่และสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนในการจัดการขยะของภาคประชาชนอย่างมีส่วนร่วมร่วมกันเป็นหลัก เพื่อนำไปสู่การสร้างจิตสำนึกในการสร้างสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน ที่มีผลต่อสุขภาพที่ดี โดยร่วมกันลดขยะและการจัดการขยะที่ดีควบคู่การสร้างรายได้เสริม สร้างความสามัคคีและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการเสริมสร้างในการเสริมแรงพลังชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชนอย่างเข็มแข็งและยั่งยืน   ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลตันหยงโป เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในโครงการ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามกิจกรรมที่ สปสช.กำหนดในข้อ 7 (2)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในตำบลตันหยงโป ในการดูแลจัดการขยะและสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง

มีจำนวนผู้เข้าร่วม โครงการ(คน) จำนวน 55 คน

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุนเพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้วิธีจัดการขยะของตนเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตำบลตันหยงโป

สภาเด็กและเยาวชน ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

0.00
3 เพื่อเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่รู้จักการคัดแยกขยะ เพื่อลดแหล่งที่จะก่อให้เกิดโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในตำบล

สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จตามกลุ่มเป้าหมาย

0.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สำรวจสถานการณ์ปัญหา ปริมาณ ชนิดและการคัดแยกขยะแต่ละประเภทในชุมชน ในช่วงเริ่มต้นเพื่อวิเคราะห์และวางแผนการทำงาน เพื่อเปรียบเทียบในชุมชนสะท้อนปัญหาการจัดการขยะที่มีผลต่อสุขภาพ เพื่อเสนอโครงการขออนุมัติ
  2. ฝึกอบรมและการลงมือปฏิบัติการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม อย่างครบวงจร โดยกิจกรรมอบรมเสริมความรู้และปฏิบัติการจัดการขยะโดยการใช้ประโยชน์จากขยะ
  3. ร่วมรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสิ่งแวดล้อม บริเวณบ้านและชุมชนให้เอื้อต่อการเสริมสร้าง สุขภาพ เช่น ลดการใช้โฟม ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
  4. จัดตั้งกลุ่ม กิจกรรมการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมชุมชน ลดผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความตระหนักและเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตนเอง อย่างมีส่วนร่วมกันโดยสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ
  2. เด็กและเยาวชนสามารถสร้างเครือข่ายการจัดการขยะให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนภายในตำบล
  3. เด็กและเยาวชนตำบลตันหยงโปรู้จักการคัดแยกขยะ ตามหลัก 3 rs และลดแหล่งที่จะก่อให้เกิดโรค ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในตำบล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2565 09:45 น.