กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อลดปัญหาพฤติกรรมเนือยนิ่งและปัญหายาเสพติด เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อลดปัญหาพฤติกรรมเนือยนิ่งและปัญหายาเสพติด เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5229-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองกำแพงเพชร
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 300,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดาพร แซ่เฉีย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ มัสยิด หมู่บ้านคลองต่อ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจภาวะสุขภาพเด็กและเยาวชนอายุ 5- 17 ปี ในประเทศไทย พบว่า 56% ของเด็กใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงในแต่ละวันในการนั่งเล่นคอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ หรือพูดคุยกับเพื่อน สอดคล้องกับผลสำรวจสถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของประชาชนไทย พ.ศ. 2550-2560 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเด็กและวัยรุ่นพบว่าจำนวน 2 ใน 3 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุทำให้เกิดมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง( Sedentary Lifestyle) ผลการสำรวจของโรงเรียน ปี 2560 พบว่า 1) มีนักเรียนร้อยละ 50 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 2) นักเรียนร้อยละ 30 อยู่ในกลุ่มน้ำ หนักเกินและกลุ่มอ้วน 3) ร้อยละ 80 ของวิชาเรียนมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย โดยเด็กไม่ได้มีการเคลื่อนไหวในคาบเรียน และ 4) ร้อยละ 20 ของจำนวนครอบครัวทั้งหมดในชุมชนมีคนเป็นเบาหวานความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง ซึ่งพฤติกรรมเนือยนิ่ง สามารถแก้ไขได้ด้วยการเริ่มออกกำลังกาย การเริ่มทีละน้อยย่อมดีกว่าการไม่เริ่มขยับร่างกายเลย ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนอาจค่อย ๆ เริ่มจากการลุกขึ้นยืนสลับกับการนั่งในระหว่างวัน หรือเดินยืดเส้นยืดสายในช่วงพักระหว่างทำงาน หรืออาจเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมเนือยนิ่งดังกล่าว ส่งผลเสียต่อร่างกายหลายด้าน โดยทำให้กระบวนการเผาผลาญไขมันและน้ำตาลเป็นพลังงานลดลง น้ำหนักตัวจึงอาจเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด และอาจสูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ควร มีผลต่อการพัฒนาสมอง การฝึกการคิดวิเคราะห์การวางแผน และขาดสมาธิ ส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs) เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และโรคอ้วนในวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งผลการสำรวจของโรงเรียน (ปี 2560) พบว่า 1) มีนักเรียนร้อยละ 50มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 2) นักเรียนร้อยละ 30 อยู่ในกลุ่มน้ำ หนักเกินและกลุ่มอ้วน 3) ร้อยละ 80 ของวิชาเรียนมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย โดยเด็กไม่ได้มีการเคลื่อนไหวในคาบเรียน และ 4) ร้อยละ 20 ของจำนวนครอบครัวทั้งหมดในชุมชนมีคนเป็นเบาหวานความดัน โรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง ซึ่งพฤติกรรมเนือยนิ่ง สามารถแก้ไขได้ด้วยการเริ่มออกกำลังกาย หรือการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้นในแต่ละวันสำหรับกิจกรรมทางกายของเยาวชนอายุตั้งแต่ 5-17 ปี ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อยวันละ 60 นาที โดยต้องออกกำลังติดต่อกันครั้งละ10 นาทีขึ้นไป ให้ได้สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน และจำกัดการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งไม่เกิน2 ชั่วโมงต่อวันด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกายทุก 1 ชั่วโมง และการจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์นั่งดูทีวีหรือเล่นโทรศัพท์มือถือในแต่ละวัน นอกจากนี้เด็กและเยาวนชนยังเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด จากการศึกษาวิจัยเรื่อง วิทยาศาสตร์การติดยาเสพติด การออกกำลังกาย ไม่เพียงแต่เป็นการกระตุ้นการใช้พลังงาน หรือช่วยควบคุมน้ำหนักเท่านั้น ยังช่วยป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิดหรือการใช้ยาเสพติดอีกด้วยเพราะ กิจกรรมการออกกำลังกายสามารถสร้างความเข้มแข็งต่อต้านแรงยั่วยุจากการอยากลองยาเสพติดได้
ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีหน้าที่ในด้านการส่งเสริมสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัยในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองกำแพงเพชร จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เป็นการบูรณาการระหว่าง การศึกษา สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีการศึกษาที่ดีควบคู่ไปกับการมีสุขภาพดี”และห่างไกลจากการใช้สารเสพติด โดยมีกิจกรรมสร้างแกนนำ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พัฒนาศักยภาพครูในเรื่องกิจกรรมทางกาย และจัดหาสถานที่และอุปกรณ์ที่อยู่ในชุมชนเดินทางสะดวก เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกาย และผลเสียเรื่องพฤติกรรมเนือยนิ่งและการใช้สารเสพติด

 

0.00
2 สร้างความเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายเพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งให้กับคุณครู แกนนำเด็กและเยาวชน

 

0.00
3 มีสถานที่และอุปกรณ์ในชุมชนเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

 

0.00
4 เด็กและเยาวชนมีสถานที่ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่วมกันลดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มใช้สารเสพติด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คุณครูและผู้ดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนมีความรู้ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. มีสถานที่และอุปกรณ์สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนได้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
  3. เด็กและเยาวชนมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งนำไปสู่การมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์สุขภาพดี ห่างไกลจากโรคเรื้อรัง ห่างไกลการใช้สารเสพติด มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 11:14 น.