กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมส่งเสริมการทำยาหม่องสมุนไพร
รหัสโครงการ 65-L2500-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลุโบะบายะ
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 19,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.สุดารัตน์ มะนอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.422,101.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 63 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยโบราณหรือแม้กระทั่งในสังคมปัจจุบัน บางแห่งล้วนเกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทยทั้งสิ้น สมาชิกในครอบครัวหนึ่งๆ อาจผูกพันกับการแพทย์แผนไทยตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต้องทำงานในสวนยาง สวนผลไม้ หรือแม้กระทั่งทำงานในสำนักงาน ก็มักมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดเอว ปวดหลัง เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ หากอาการไม่รุนแรงมากนัก ก็มีการดูแลรักษากันเองโดยหมอที่อยู่ในชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการนวดเพื่อให้ผ่อนคลายจากความเมื่อยล้าหรือการนวดโดยหมอนวดเพื่อบำบัดรักษาโรคหรืออาการบางอย่างรวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรหรือการรักษาด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น สิ่งเหล่านี้ล้วนจัดเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยทั้งสิ้น ด้วยชุมชนตำบลลุโบะบาะมีประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวนและกรีดยาง ทำให้เมื่อยตามร่างกายเป็นประจำค่อนข้างมาก รวมทั้งมีผู้สูงอายุในชุมชน 80 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการ ปวดเข่า ปวดเอวและปวดเมื่อยตามร่างกายประชาชนจึงเห็นและมีความต้องการทำยาหม่องสมุนไพรเพื่อสุขภาพไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะตระหนักถึงความสำคัญของของการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย และการส่งเสริมให้ อสม.ในพื้นที่มีความรู้ในเรื่องการแพทย์แผนไทย สามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมฟื้นฟูความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ด้านส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้กับกลุ่มอสม.มีความรู้ในการทำยาหม่องสมุนไพร 2.เพื่อส่งเสริมให้อสม.มีความรู้ด้านสมุนไพร 3.เพื่อส่งเสริมให้ อสม.มีความรู้ ความสามารถในการประดิษฐ์การทำยาหม่องสมุนไพร

1.ร้อยละ 80 ของอสม. ตำบล ลุโบะบายะได้รับความรู้ด้านเกี่ยวกับการทำยาหม่องสมุนไพร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. 2.ติดต่อประสานงานกับวิทยากร จัดเตรียมโครงการ/อุปกรณ์สาธิต 3.จัดการฝึกอบรม โดยมีการบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการการทำยาหม่องสมุนไพร 4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ(1 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 0.00          
รวม 0.00
1 1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ใน รพ.สต. 2.ติดต่อประสานงานกับวิทยากร จัดเตรียมโครงการ/อุปกรณ์สาธิต 3.จัดการฝึกอบรม โดยมีการบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการการทำยาหม่องสมุนไพร 4. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.และประชาชนมีความรู้และทักษะในการใช้สมุนไพรเบื้องต้น
  2. อสม. มีความรู้และสามารถแนะนำการใช้สมุนไพรได้ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 11:32 น.