กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L5237-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ *กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (ม.1,ม.2,ม.6 และ ม.7)
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 กรกฎาคม 2022 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรุณี สุวรรณพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.469,100.437place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นการเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่นไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น และที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหาและเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมแซมสุขภาพ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาปฎิบัติการ ทำให้ประชาชน สุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในชุมชน ได้คิดการจัดการบริหารและเพิ่มพูนการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสาน ระหว่างหหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนเพิ่มมากขึ้น จึงมีนโยบายที่พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฎิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขื ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติงานในเรื่องที่เป็น ปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ให้บริการ และประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปีงบประมาณ 2565 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาด้านความรู้และด้านการใช้เครื่องมือต่างๆที่จำเป็นในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนการป้องกันโรคในชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ทักษะ ในการปฎิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อสร้างการบริการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนในพื้นที่โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุข

ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ก่อนประสานต่อหน่วยงานต่างๆไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นตอนการวางแผน ร่วมประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลจะทิ้งพระ
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน   เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของโครงการได้จัดทำกระบวนการเสริมสร้างสุขภาพเพื่อป้องกันโรคในผู้ที่เป็นปละกลุ่มเสี่ยง ดังนี้   3.1 จัดอบรมให้ความความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านสุขภาพ และการป้องกันโรคในชุมชน   3.2.จัดอบรมเสริมสร้างทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด
  3.3 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ออกตรวจคัดกรองประชาชนในหมู่บ้านเพื่อหาผู้ที่เป็นและมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน   3.4 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ที่เป็นโรคและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวานในการปฎิบัติตนให้ถูกต้อง 4. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
5. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการเป็นรูปเล่มเพื่อนำส่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะทิ้งพระ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจทักษะด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค สุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด

3.ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2022 14:00 น.