กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 8
รหัสโครงการ 65-L5270-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพัตรา สุวรรณโณ นายเนิน สมพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.304,100.497place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 16,750.00
รวมงบประมาณ 16,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2563 - 2564) จึงมีโอกาสที่ในปีพ.ศ. 2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 - 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 - 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน(เดือนมิถุนายน - กันยายน)

  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม

  จากสภาพสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมต่างๆ ของประชาชนมีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้โดยง่าย ชมรม อสม. จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีการกำจัดขยะของตนเองให้เหมาะสม

ประชาชนปฏิบัติได้ถูกต้องเหมาะสม

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยวิธีที่เหมาะสม

ไม่มีลูกน้ำยุงลาย

0.00
3 เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 65ก.ย. 65
1 ให้ความรู้แก่กลุ่มประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยผ่านช่องทาง(4 ส.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 14,950.00    
2 เฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก(4 ส.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 1,800.00    
รวม 16,750.00
1 ให้ความรู้แก่กลุ่มประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยผ่านช่องทาง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 14,950.00 1 14,950.00
1 ส.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 ให้ความรู้แก่กลุ่มประชาชนเรื่องโรคไข้เลือดออก โดยผ่านช่องทาง 0 14,950.00 14,950.00
2 เฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,800.00 1 1,800.00
1 ส.ค. 65 - 27 ก.ย. 65 เฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 1,800.00 1,800.00
  1. ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์

  2. จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวัดขนุน

  3. ประชุมชี้แจงรายละเอียดและวางแผนการดำเนินงาน

  4. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน

  5. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ

  6. จัดกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

  7. ติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

2 ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2565 14:39 น.