กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อนามัยแม่และเด็ก “นมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว”ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L5248-01-65-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 33,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริจันทร์พร พลเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 33,125.00
รวมงบประมาณ 33,125.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องให้เด็กทุกคนได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ว่า “เด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ควรได้รับนมแม่อย่างเดียวและกินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น” ประเทศไทยจึงได้ตั้งเป้าหมายในปี 2568 ได้ว่า “ร้อยละของเด็กแรกเกิด – 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 50” ซึ่งในสถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบันนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 14 ซึ่งยังต่ำกว่าตราเฉลี่ยทั่วโลก และต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (สาธิต, 2564) และจากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีเพียงร้อยละ 62.50 เท่านั้น ซึ่งยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้อาจเพราะมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สภาพเศรษฐกิจ และสังคม ครอบครัวที่เคยอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก และญาติ แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ลาหลังคลอดไม่ได้ มีความจำเป็นต้องละทิ้งเด็กไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย ที่มีประเพณี ความเชื่อ ทัศนคติดั้งเดิม และมีความรู้ไม่เพียงพอ ทำให้เด็กได้รับ นมแม่อย่างเดียวจนอายุ 6 เดือนลดน้อยลง ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับลูก (Good start) เป็นอาหารธรรมชาติ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคแก่ทารก และสามารถเสริมสร้างความรัก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก จากการที่แม่ได้สัมผัสลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้ลดการเสียเลือดหลังคลอดน้อยลง รูปร่างแม่คืนสู่สภาพเดิมได้เร็ว ช่วยให้แม่และลูกไม่เป็นโรคอ้วน หากให้นมแม่เป็นเวลานานจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อนมผสม และอุปกรณ์ในการชงนม (พรพิมล อาภาสสกุล, 2559) การจัดโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิตจึงมีเป้าหมายเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และทัศนคติ เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ ความแตกต่างของนมแม่และนมผสม หลักการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าให้นมแม่ที่ถูกต้อง แม่ทำงานสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และเพิ่มทักษะการนวดเต้านม การบีบเก็บน้ำนม และการนำน้ำนมที่เก็บไว้ออกมาใช้ ซึ่งคาดหวังว่าโครงการนี้จะนำไปสู่ความตั้งใจของหญิงตั้งครรภ์และบุคคลในครอบครัว และสามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น  ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่ดีของชีวิตให้กับหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินงาน 1. จัดประชุมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อค้นหาปัญหาและวางแผนการดำเนินโครงการ 2. สำรวจและทำทะเบียนแม่หลังคลอดในพื้นที่
2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนอยากมีบุตร และหญิงหลังคลอดโดยวิทยากร - หลักการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ ความแตกต่างของนมแม่และนมผสม
จำนวน 1 ชั่วโมง - วิธีการให้นมลูกที่ถูกต้อง จำนวน 1 ชั่วโมง - สาธิตการให้นมลูกอย่างถูกวิธี จำนวน 1 ชั่วโมง - การเตรียมนมให้ลูกสำหรับแม่ที่ต้องไปทำงานนอกบ้าน จำนวน 1 ชั่วโมง - ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารเสริมการหลั่งของน้ำนมแม่ จำนวน 1 ชั่วโมง 4. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก ออกติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อดูวิธีการปฏิบัติของแม่ในการให้นมลูก สอบถามปัญหา และให้คำแนะนำเพิ่มเติมตามความจำเป็น ทุก 2 สัปดาห์ ช่วงหลังคลอด จากนั้นทุก 1 – 2 เดือน 5. รายที่ผิดปกติ ประสานแจ้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อนัดหมายการดูแล 6. ประเมินผลการดำเนินงาน โดยแบบทดสอบความเข้าใจ ก่อน – หลังการได้รับความรู้ 7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนอยากมีบุตร และหญิงหลังคลอด มีความรู้ความเข้าใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยนาน 6 เดือน
  2. หญิงหลังคลอดสามารถปฏิบัติวิธีการให้นมลูกได้ถูกต้อง
  3. หญิงหลังคลอดหรือผู้ดูแลมีความรู้และปฏิบัติได้ถูกต้องเกี่ยวกับการเก็บน้ำนมและการเอานมไปใช้ขณะที่แม่   ออกไปทำงานนอกบ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2565 14:47 น.