กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสถานศึกษาปลอดโรคติดต่อ ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L5248-02-65-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. รพ.สต.หัวถนน
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 19,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประนอม รักชุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 19,350.00
รวมงบประมาณ 19,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging Infectious Diseases) หมายถึง โรคติดเชื้อชนิดใหม่ๆที่มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะประมาณ 20 ปีที่ผ่านมาหรือโรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ รวมไปถึงโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในที่ใดที่หนึ่ง เช่น โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Re-emerging Infectious Diseases) หมายถึง โรคติดเชื้อที่เคยแพร่ระบาดในอดีต และสงบไปแล้วเป็นเวลานานหลายปี แต่กลับมาระบาดขึ้นอีก เช่น ไข้เลือดออก หัด คางทูม มือเท้าปาก ตาแดง ไข้อีสุกอีใส เป็นต้น ปัจจุบันโรคโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำกำลังระบาดอย่างมากในพื้นที่ เช่น โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก มือเท้าปาก ตาแดง อีสุกอีใส ซึ่งอาการจะมีความรุนแรงมากในเด็กเล็ก ติดเชื้อง่ายและรวดเร็ว ส่วนใหญ่พบกลุ่มก้อนในโรงเรียน เนื่องจากเด็กมีกิจกรรมร่วมกัน เล่น รับประทานอาหารร่วมกัน ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสุขภาพโดยรวมของเด็ก เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อ ติดต่อสู่กันได้ง่าย อาจต้องปิดโรงเรียน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ในการป้องกันโรค และแนวทางในการดูแลรักษาอย่างถูกต้องจึงจะสามารถควบคุมโรคติดต่อดังกล่าวได้ทันถ่วงที เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ประธาน อสม. รพ.สต.หัวถนน จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียนของโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียนในพื้นที่ (โรงเรียนบ้านหัวถนนและโรงเรียนบ้านยางเกาะ) ได้มีความรู้ความเข้าใจและเตรียมรับมือกับการระบาดของโรค จึงได้จัดทำโครงการสถานศึกษาปลอดโรคติดต่อนี้ขึ้น เพื่อสภาวะสุขภาพที่ดีของเด็กในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ

1.ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อมากยิ่งขึ้น

0.00
2 2 เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรองเบื้องต้น เพื่อหยุดการระบาด

2.ลดอัตราการระบาดในโรงเรียน ไม่สั่งปิดภาคเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ ๑. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ๒. ประสานงานกับโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่ ๔. จัดอบรมตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ ๕. สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ตามรายละเอียดดังนี้ จำนวน    19,350  บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้   - ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการขนาด ๑ x ๓ เมตร ตารางเมตรละ ๑5o บาท x    จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 450 บาท   - ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑ x 3 เมตร ตารางเมตรละ ๑5o บาท x    จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 900 บาท   - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมมื้อละ 25 บาท x จำนวน 200 คน    x 1 มื้อ
เป็นเงิน 5,000 บาท   - ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมจากหน่วยงานในอำเภอสะเดา ชั่วโมงละ 600 บาท x จำนวน 2 คน x 7 ชั่วโมง เป็นเงิน 8,400 บาท   - ค่าถ่ายเอกสาร (แบบทดสอบก่อน – หลัง, ใบความรู้ต่างๆ) ชุดละ 10 บาท x 160 ชุด เป็นเงิน 1,600 บาท - สแตนดี้ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อขนาด 0.6x1.6 เมตรพร้อมขาตั้ง ชุดละ 1500บาท จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,350.00 บาท
                            (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ
  2. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมีความพร้อม และแนวทางในการดูแลรักษาในกรณีเกิดโรคได้อย่างถูกต้อง
  3. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถคัดกรองเบื้องต้นว่าบุตรหลานป่วยด้วยโรคติดต่อหรือไม่ ประเมินการหยุดเรียนเองได้
  4. ลดการติดเชื้อในโรงเรียน สามารถเปิดเรียนได้ตามปกติ
  5. ลดอัตราการป่วยรุนแรง เข้ารับการรักษาได้ทันเวลา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 10:09 น.