กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาหารปลอดภัยร่างกายปลอดโรค โรงเรียนบ้านหัวถนน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L5248-02-65-22
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 27,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัฏฐนิช เลาะปนสา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 27,270.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 27,270.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 138 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 14 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน  เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โรงเรียนบ้านหัวถนนตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอาหารปลอดภัยร่างกายปลอดโรคขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้จักการทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักและผลไม้กินเอง และการช่วยเหลือให้คำแนะนำตลอดจนการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ นักเรียนได้เรียนรู้การป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดสารพิษที่ปนเปื้อนในผักและผลไม้ นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถนำมารักษาโรค ส่งเสริมด้านสุขภาพ ตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาพนักเรียนตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๑. นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการเรียนรู้ด้านสุขภาพนักเรียนตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ในการทำปุ๋ยหมักและปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษได้

๒. นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ ในการทำปุ๋ยหมักและปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ  ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 ๓. เพื่อให้นักเรียนทำน้ำสมุนไพรปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพดื่มเองได้

๓. นักเรียน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถทำน้ำสมุนไพรปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพดื่มเองได้ ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน ๗.๑ ขั้นตอนการดำเนินการ ๗.๑.๑ ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอโครงการ ๗.๑.๒ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ ๗.๑.๓ ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการ ปฏิบัติงานตามโครงการ ๗.๑.๔ ปฏิบัติงานตามโครงการ ดำเนินการกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ เรียนรู้ตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ ฐานที่ 1 อาหารที่มีประโยชน์ / อาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ฐานที่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อสุขภาพ ฐานที่ 3 การทำแปลงปลูก/การปลูกพืชปลอดสารพิษ ฐานที่ 4 ประโยชน์สมุนไพรไทยที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ฐานที่ 5 การทำน้ำเสาวรส/น้ำตะไคร้ และน้ำสมุนไพรต่างๆเพื่อป้องกันโรค ๗.๑.๕ ประเมินผลและสรุปผลโครงการ ๗.๑.๖ รายงานผลโครงการไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลปริก   จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก จำนวน ๒๗,๒๗๐ บาท รายละเอียดดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๕๗ คนๆละ ๕ มื้อๆละ ๒๕ บาท  เป็นเงิน ๑๙,๖๒๕ บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร ๕ วันๆละ ๖ ชั่วโมงๆละ ๒๐๐ บาท เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน ๑ ป้าย ขนาด ๒×๑  เมตร ตารางเมตรละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐ บาท - ภาพไวนิลอาหาร ๑×๑  เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท จำนวน 2 ไวนิล เงิน ๓๐๐ บาท - ถังย่อยเศษอาหารขนาด ความจุ ๓๐ ลิตร จำนวน ๑ ถัง จำนวน ๓9๐ บาท - กากน้ำตาลบรรจุ ๕ ลิตรๆละ ๔๖ บาท เป็นเงิน ๒๓๐ บาท - อีเอ็มขนาด ๑ ลิตร เป็นเงิน ๖๐ บาท - ปุ๋ยดิน ๕ กระสอบ กระสอบละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑๐๐ บาท - เม็ดผักบุ้ง ๐.๕  กิโลกรัม เป็นเงิน ๘๐ บาท - น้ำตาลทราย ๓ กิโลกรัม กิโลกรัมละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๙๐ บาท - เกลือป่น ๑ ถุง เป็นเงิน ๕ บาท - แก้วพลาสติก ๑๕๐ ใบ (๓ แถว×๓๐ บาท) เป็นเงิน ๙๐ บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๒๗,๒๗๐ บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการเรียนรู้ด้านสุขภาพนักเรียนตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๒. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ ในการทำปุ๋ยหมักและปลูกผักผลไม้ปลอดสารพิษ
๓. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถทำน้ำสมุนไพรปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพดื่มเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 10:55 น.