กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมายอ
รหัสโครงการ 05-L7001-65
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เลขากองทุนฯ
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 31 ตุลาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอันวา สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.71,101.425place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 มิ.ย. 2565 9 ส.ค. 2565 11,100.00
2 9 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 38,900.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพโดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดุแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง ตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ได้กำหนดลักษณะกิจกรรมที่จะของบประมาณสนับสนุนจากกองทุน ได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมการจัดการสาธารณสุขของหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ กิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนในพื้นที่ กิจกรรมด้านการสาธารณสุขกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่และกิจกรรมการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมายอ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพและพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนขึ้นเพื่อนำงบประมาณที่ได้รับมาบริหารจัดการกองทุน จัดเตรียมวัสดุที่จำเป็นมาใช้ในการดำเนินงานของกองทุนฯ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1.1 เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานกองทุนฯ 2.1.2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการบริหารกองทุนและคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ 2.1.3 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุน ตามระเบียบของกองทุนฯ 2.1.4 เพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการและพัฒนาทักษะของเครือข่ายในการจัดทำแผนงานโครงการที่

 

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1. รวบรวมข้อมูลเพื่อขอรับงบประมาณในปี 2563 เพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมายอ 3.2 ขออนุมัติโครงการ 3.3 ประชุมคณะกรรมการบริหารงานและคณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมายอ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมายอ 3.4 จัดทำแผนสุขภาพชุมชน โดยดึงแกนนำกลุ่มต่างๆ เข้าร่วม พร้อมทั้งคณะกรรมการบริหารงาน และคณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมายอ 3.5 ประชาสัมพันธ์กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมายอ เช่น เสียงตามสาย ป้ายไวนิล
เป็นต้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ หน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น รวมทั้งสถานบริการทางการเลือก ได้รับการสนับสนุนและมีกรจัดกิจกรรม/โครงการเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ๗.๒ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ได้ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ หรือ กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ ๗.๓ เกิดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการพยาบาล ระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวการพัฒนาและดูแลเด็กในชุมชน 7.4 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธฺภาพ 7.5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรืออภัยพิบัติในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 10:57 น.