กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงเจริญพันธ์ตำบลปะโด ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L3004-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด
วันที่อนุมัติ 10 สิงหาคม 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2022 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2022
งบประมาณ 21,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนัส ศรีบุญเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.666,101.359place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ส.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (21,050.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ ปีหนึ่งมีคนไทยเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งทุกชนิด ปีละ  4,500 ราย โดยมีอัตราตายเป็นอับดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือดและยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 8 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน  แต่ละปีจะมีผู้หญิงป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 ราย หรือวันละ 27 ราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 5,200 ราย หรือวันละ 14 ราย โดยกลุ่มที่พบสูงสุดคืออายุ 45-55 ปี องค์การอนามัยโลกประมาณการณ์ว่า ขณะนี้ทั่วโลกในทุก 2 นาทีจะมีผู้หญิงเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 1 รายและจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าสตรีไทยมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 3 ต่อแสนประชากร และเพิ่มเป็น 3.1 ต่อแสนประชากรในปี 2563 ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92 % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear สตรีที่เป็นมะเร็งส่วนใหญ่มักจะมี สถานะทางเศรษฐกิจต่ำ มีความรู้น้อย มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ปัญหาในการมาตรวจ ความอาย ความรู้สึกเจ็บไม่สบาย ความวิตกกังวลถึงผลการตรวจและความรุนแรงของโรค (สริตา, 2538)
สำหรับสถานการณ์โรคมะเร็งของจังหวัดปัตตานี  ส่วนโรคมะเร็งปากมดลูกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 – 2563 พบว่า มีอัตราป่วย 59.10 และ 60.15 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35-60 ปี ของตำบลปะโด พบว่ากลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  ปี 2563 ร้อยละ 34.65 (โปรแกรมHosXP_PCU รพ.สต.ปะโด มกราคม 2563) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนด ในปี 2563 ตำบลปะโดได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกเชิงรุกทุกรูปแบบในกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีผู้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 7.68 ซึ่งถือว่ามีปริมาณที่น้อยอยู่และต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนด การให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องร่วมกับการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง จะทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในความรุนแรงของโรคและมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะโด จึงได้จัดทำ “โครงการ หญิงเจริญพันธ์ตำบลปะโด ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2565”เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกแบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณส.ค. 65ก.ย. 65
1 จัดอบรมสตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 130 คน(15 ส.ค. 2022-30 ก.ย. 2022) 0.00    
รวม 0.00
1 จัดอบรมสตรีที่มีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 130 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการบริการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตามเกณฑ์มาตรฐาน
      2.สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง เดือนละ 1 ครั้ง       3.จำนวนผู้ป่วยที่ค้นพบเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ได้รับการรักษาพยาบาลในระยะขั้นแรก ของการเป็นโรคมะเร็ง       4.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของภาครัฐ
      5.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก       6. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2022 15:42 น.