กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ควบคุมโรงไข้มาลาเรียในชุมชนบ้านกม.26นอก
รหัสโครงการ 65-L8411-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครหมู่บ้าน บ้านกม.26นอก
วันที่อนุมัติ 10 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 5,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวตีเมาะ ลอเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.355399858,101.3271073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมาลาเรียพบมากในเขตพื้นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมที่ทำให้เชื้อแบ่งตัวได้แก่ เขตร้อนแต่การกระจายของเชื้อโรคอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากโลกมีอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนย้ายของประชากร สำหรับประเทศไทยจะพบเชื้อได้ทั่วไป ยกเว้นกรุงเทพฯ เชื้อมีมากในป่าเขาในจังหวัดตามแนวชายแดนของประเทศไทยพบว่ามีเชื้อ พี.ฟาลซิปารัม (P.falciparum) 70%พี.ไวแวกซ์(P.vivax) 50% ตัวพาหะที่นำโรคมาลาเรียคือยุงก้นปล่อง (ตัวเมีย) ซึ่งเรียกอย่างนี้เพราะว่าเวลาที่ยุงกัดคน มันจะเกาะโดยยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา ในเมืองไทยพบยุงก้นปล่องที่สำคัญ 2 ชนิด คือ 1.Anopheles Dirusพบในป่าทึบ ชอบวางไข่ตามแอ่งน้ำนิ่งขังตามธรรมชาติ เช่น แอ่งหินในป่าทึบ นิสัยชอบกัดเลือดคน มากกว่าสัตว์อื่น ออกหากินตอนดึกถึงเช้ามืด และไม่ชอบเกาะฝาบ้าน
2.Anopheles Minimusพบตามชายป่า ชอบวางไข่ในลำธาร น้ำใสไหลเอื่อยๆ หลังจากกัดคน แล้วจะเกาะที่ฝาบ้าน แต่ในปัจจุบันมีการปรับตัวคือหลังจากกัดคนแล้วจะไม่เกาะฝาบ้านและจะกัดคนนอกบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะตอนหัวค่ำ ไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดหนึ่งซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียซึ่งแต่ละปีจะมีการอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรประกอบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนมีอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้มาลาเรียและสภาพพื้นที่ตามแนวชายแดนเอื้อต่อการระบาดของโรคมาลาเรีย จากรายงานระบาดวิทยา สถานการณ์ไข้มาลาเรีย บ้านกม.26 นอก ตำบลตาเนาะปูเต๊ะพบผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน ๑ คน ในปี 2563 เป็นพื้นที่ที่พบไข้มาลาเรียซ้ำซาก ( Hard core ) เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าเขา และประชาชนประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับป่าเป็นส่วนใหญ่และมีการป้องกันตนเองไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้มีการระบาดของโรคมาลาเรียกระจาย จากการสอบสวนโรคผู้ป่วย พบว่าส่วนมากตอนกลางคืนไม่นอนกลางมุ้ง ยังไม่มีการป้องกันตัวเองด้วยวิธีอื่น ดังนั้นทาง อสม.หมู่ที่ 1 บ้านกม.26 นอก เพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงต้องมีการป้องกัน โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการพ่นสารเคมีตกค้างในบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้มาลาเรีย

 

2 ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A2 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง

 

3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดระดับการระบาดของโรค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 127 5,400.00 1 5,400.00
14 ก.ย. 65 รนณรงค์ ต้านภัยไข้มาลาเรีย ขอความร่วมมือประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรมดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ในชุมชนการเฝ้าระวังและป้องกันโรคล่วงหน้า ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย จัดกิจกรรม พ่นฝาผนังหรือสารเคมีกำจัดยุงก้นปล่ 127 5,400.00 5,400.00
  1. ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ภาคีเครือข่าย เช่น อสม. ผู้นำชุมชน โรงเรียน และกลุ่มองค์กรต่างๆ
  3. จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์
  4. จัดกิจกรรรนณรงค์ ต้านภัยไข้มาลาเรีย ขอความร่วมมือประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรมดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ในชุมชนการเฝ้าระวังและป้องกันโรคล่วงหน้า ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย จัดกิจกรรม พ่นฝาผนังหรือสารเคมีกำจัดยุงก้นปล่อง ในหมู่บ้าน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  5. ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
  6. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลหลังสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนในหมู่บ้านกม.26 นอก มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้มาลาเรีย โดยมีการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
2 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงร้อยละ20
3 มีการบูรณาการ ประสานความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพ องค์กรในชุมชน ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้มาลาเรีย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2565 09:55 น.