กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการประชุมชี้แจงแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อรณรงค์ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และปรับเปลี่ยนสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเขาไพร ปี 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชุมชี้แจงแกนนำผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อรณรงค์ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และปรับเปลี่ยนสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเขาไพร ปี 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพียงดาว รอดความทุกข์
พี่เลี้ยงโครงการ นายสราวุธ พรหมมินทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.96,99.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการคาดการณ์ปี 2565 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยจะขยับสัดส่วนเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึงประชากร 1 ใน 5 คือผู้สูงอายุ  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และสหประชาชาติกำหนดสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป ถือเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ปัจจุบันผู้สูงอายุในประเทศไทยมีประมาณ 11.8 ล้านคน จากประชากรกว่า 66 ล้านคน หรือร้อยละ 17.9 ผลการเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทยมาจากการเปลี่ยนผ่านทางประชากรทั้งอัตราการเกิด หรือภาวะเจริญพันธุ์ลดลง ภาวการณ์เสียชีวิตในกลุ่มเด็กและวัยแรงงานลดลง  อันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาในระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โภชนาการ การศึกษา เศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางการแพทย์  ทำให้ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น  การสูงวัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  หลายประเทศได้เตรียมพร้อมและดำเนินมาตรการต่างๆรองรับกับสถานการณ์สำหรับประเทศไทย รัฐบาลประกาศให้ “สังคมผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ” และขับเคลื่อนตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.2561 มีแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุแห่งชาติครอบคลุมทั้งกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ (25–59 ปี) เน้นเตรียมการสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ การให้ความสำคัญกับการออม การปรับสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพผู้สูงอายุ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติไม่มองผู้สูงอายุเป็นภาระ ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุมผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีมากขึ้น เน้นการเสริมทักษะใหม่แก่แรงงานผู้สูงอายุ ออกแบบการทำงานให้ยืดหยุ่นและสร้างแรงจูงใจให้นายจ้างจ้างงานผู้สูงอายุ จัดทำแผนบูรณาการด้านสุขภาพ และดูแลสุขภาพระยะยาวที่บ้านและในชุมชนตามระดับความจำเป็น  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้เตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งการประกาศเป็นวาระชาติ การกำหนดแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยเฉพาะในปี 2563 ได้กำหนดแนวทางมุ่งเน้นเรื่องสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ที่ขับเคลื่อนในทุกกระทรวง สำหรับในปี 2565 กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ได้จัดทำแผนบูรณาการรองรับทั้งมิติคนก่อนวัยสูงอายุที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการก้าวสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ และมิติวัยสูงอายุมีการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้มีความแข็งแรงด้านสุขภาพ มีความมั่นคงในการมีชีวิต มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รวมถึงการจัดระบบสวัสดิการต่างๆ เพื่อรองรับ สังคมผู้สูงอายุ  ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากความเสื่อมสภาพ โดยพบว่าโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียปีสุขภาวะ 5 อันดับแรก ในผู้สูงอายุชายได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวาน และโรคมะเร็งตับ สำหรับผู้หญิงได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อม และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุดูแลตัวเองไม่ได้เลย 63,000 คนหรือร้อยละ 0.9  โดยพิจารณาจากความสามารถในการดูแลตนเองที่ทำให้ทราบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพร  จึงได้จัดทำโครงการประชุมชี้แจงแกนนำเพื่อรณรงค์ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และปรับเปลี่ยนสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเขาไพรปี 2565 ขึ้นมาเพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุได้เร็วขึ้น และ ให้ผู้สูงอายุได้ร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดและป้องกันโรคและอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดและสมอง ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้อย่างดี ได้รับการดูแลจากผู้ ใกล้ชิดอย่างมีคุณภาพจึงจะทำให้สังคมผู้สูงอายุตำบลเขาไพร เป็นสังคมที่มีสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุตำบลเขาไพร

 

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงขั้นตอนและรูปแบบการดำเนินงานแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  2. ให้แกนนำทำแบบสอบถามสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนของตนเอง
  3. ทำหนังสือเชิญผู้สูงอายุทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ฯ ในชุมชน
  4. จัดรณรงค์ค้นหาปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน โดยทีมเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาไพรร่วมกับ แกนนำผู้สูงอายุตำบลเขาไพรในการทำงานซึ่งเป็น อสม. จิตอาสา จำนวน 5 หมู่บ้านๆละ 2 วัน รวมเป็นเวลา 10 วัน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุตำบลเขาไพร ได้รับการดูแลตามสภาพปัญหาที่ค้นพบ จากการรณรงค์คัดกรอง ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมตามเป้าหมายที่วางไว้ และ ได้รับการบำบัด และฟื้นฟู ตามสภาพปัญหา สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2565 13:40 น.