กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L1486-01-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 สิงหาคม 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2565
งบประมาณ 28,882.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ แก้วด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ส.ค. 2565 15 ก.ย. 2565 29 ส.ค. 2565 15 ก.ย. 2565 28,882.00
รวมงบประมาณ 28,882.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก รพ.สต.ลิพัง พบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ด้วยโรคทางบระบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยนอก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลลิพังประกอบอาชีพเกษตรกร ประมง และรับจ้าง ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องใช้ อิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น ยกของหนัก แบกหาม การนั่ง ยืน ผิดจากท่าทางปกติ เป็นต้น ผลของการทำงานส่งผลกระทบต่อสุภาพ ทำให้ระบบโครงสร้างร่างกาย ทั้งระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ผิดปกติ เกิดการเจ็บป่วยขึ้น และกระทบกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอย่างมาก
การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่สมัยโบราณ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ มักจะรักษาโดยใช้สมุนไพร นอกจากนั้น ยังมีการรักษาด้วยวิธีการ นวด การประคบ การรักษาโรคด้วยวิธีนี้ทำให้โลหิตไหลเวียนสะดวกขึ้นเป็นการปรับสภาพร่างกายให้เกิดความสมดุล และยังทำให้ร่างกายรู้สึกสบายตัวมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการรักษาโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ในหลายวิธี ซึ่งการรักษาด้วยภูมิปัญญาไทยเป็นอีก หนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคดังกล่าวโดยการทำหัตถการต่างๆ เช่น การตอกเส้น การยืดตัด การเขี่ยเส้น การประคบสมุนไพร ซึ่งหัตถการต่างๆ นี้พบว่าการทำหัตถการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการปวดเมื่อยใน ผู้ป่วยโรคทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ได้ดี รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลรักษา และป้องกันตนเอง จากโรคทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ได้ในเบื้องต้น ยังสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจน ประหยัดเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลได้ด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อลดการเจ็บป่วยด้วยอาการทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ 2565 เพื่อให้ประชาชนในตำบลลิพังที่มีความสนใจ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ทั้งการใช้สมุนไพร และการนวด และสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรค ของตนเอง คนในครอบครัว ชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง ในพื้นที่ตำบลลิพังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค ๒. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในชุมชนมากยิ่งขึ้น

ผู้เช้าร่วมโครงการร้อยละ ๘๐ มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินการโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง 2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินโครงการ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินการ 1. การบรรยายให้ความรู้ และสาธิต การทำลูกประคบ น้ำมันนวด และการใช้ลูกประคบ การนวด การใช้น้ำมันนวด การทท่าการบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 2. ฝึกปฏิบัติให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ ขั้นสรุปผลการดำเนินการ 1. สรุปและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค ๒. ชุมชนมีการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 11:29 น.