กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง ปี ๒๕๖๕

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง ปี ๒๕๖๕
รหัสโครงการ 65-L1486-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
วันที่อนุมัติ 16 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 สิงหาคม 2565 - 20 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2565
งบประมาณ 14,532.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ แก้วด้วง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ส.ค. 2565 15 ก.ย. 2565 29 ส.ค. 2565 15 ก.ย. 2565 14,532.00
รวมงบประมาณ 14,532.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อสำรวจภาวะสุขภาพของคนในชุมชนพบว่าประชากรที่มีอัตราการเกิดโรคและประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคจะอยู่ในกลุ่มประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๓๕ ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานและมีบทบาททางเศรษฐกิจของชุมชน กลุ่มนี้มักมีปัญหาการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักเกิน อาจจะเกิดจาการทำงาน ความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน แหล่งที่มาของอาหารการกิน ความนิยมอาหารถุงและอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มมีน้ำตาลสูงตามท้องตลาดหาซื้อได้ง่าย ทำให้กลุ่มวัยทำงานมีภาวะสุขภาพไม่ดี จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มนี้เป็นพิเศษ โดยการสำรวจจากการใช้แบบบันทึกการคัดกรองความเสี่ยง พบว่ามีกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน ๗๐ คน และกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๑๐ คน จากการสำรวจข้อมูลของประชากรในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน ๗ หมู่บ้าน พบว่า มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี คือในปี พ.ศ.๒๕๖๓ มีอัตราเพิ่มร้อยละ ๖ และในปี พ.ศ.๒๕๖๔ มีอัตราเพิ่มเป็นร้อยละ ๔ เนื่องจากประชาการขาดความรู้ มีพฤติกรรมหรือทัศนะคติที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จึงทำให้มีแนวโน้มของการเกิดโรคเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มผู้ป่วยที่มีในความดูแล บางส่วนนั้นมีภาวะแทรกซ้อนของโรคเกิดขึ้น คือ ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดของปีพ.ศ. ๒๕๖๔  จำนวน ๗๗ คน มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้าจำนวน ๑ คน มีภาวะแทรกซ้อนที่ตา จำนวน ๑ คน มีภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยผลการตรวจ BUN และ Ceratinine (BUN ค่าปกติ = ๘ – ๒๐ mg/dl, Cr ค่าปกติ = ๐.๕ – ๑.๕ ml/dl )  ผิดปกติ จำนวน ๑๔ คน  และผลการประเมินภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน ๕๐ คน ผลการตรวจ BUN และ Ceratinine  ผิดปกติ จำนวน ๘ คน และควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ได้ ติดต่อกันนานกว่า ๓ เดือน คือ มากกว่า ๑๔๐/๙๐ mmHg จำนวน ๑๕ คน จากข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง ปี ๒๕๖๕ เพื่อควบคุมป้องกันการเกิดโรคเพิ่มขึ้นและยังนำมาซึ่งการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายให้ประชาชนดูแลกันเองในชุมชน สามารถแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๒. เพื่อจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูงเพื่อห่างไกลจากภาวะแทรกซ้อนของโรค ๓. เพื่อติดตามประเมินผลผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ๔. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง โรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง ให้ดูแลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมไม่เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนกับผู้ป่วย

๑ .ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่มารับยาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพังเข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยความสมัครใจ ร้อยละ ๙๐ ๒. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และ มีภาวะแทรกซ้อนของโรคลดลง ร้อยละ ๘๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ ๑. รวบรวมข้อมูลรายชื่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย       ๒. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ       ๓. จัดตั้งคณะทำงาน ตัวแทน อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคลากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ         ตำบลลิพัง       ๔. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินงาน ระยะดำเนินการ   ๑. จัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ ๒ ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและความดัน
    โลหิตสูง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนการเกิดโรค ๑ วัน   ๒. จัดนิทรรศการเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓ อ ๒ ส เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนการ
    เกิดโรค จัดวันที่ฝึกอบรม
    ๓. จัดทำสมุดประจำตัวให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรมในการบันทึก ภาวะสุขภาพของตนเองก่อนเข้า       รับการอบรม เปรียบเทียบ เมื่อดำเนินการโครงการเสร็จ ตลอด ๓ เดือน   ๔. ติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย ตามกำหนดที่วางไว้ ระยะสรุปผลการดำเนินงาน   ๑. ระดับความรู้ของผู้เข้ารับการอบรม ประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ด้านออก   กำลังกาย ด้านอารมณ์ ด้านการรับประทายยา ก่อนและหลังการอบรม เกณฑ์ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้ารับ
  การอบรมมีความรู้การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น     ๒. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้ารับการอบรม ประเมินจากแบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ
      ด้านอาหาร ด้านออกกำลังกาย ด้านอารมณ์ ด้านการรับประทานยา เกณฑ์ร้อยละ ๘๐ มีพฤติกรรมในการ       ดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ติดตามหลังอบรม ๓ เดือน     ๓. ติดตามประเมินผล     ๔. สรุปผลการดำเนินงาน / ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.  ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง มีความรู้ และทัศนคติที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยน         พฤติกรรมสุขภาพของตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรค     ๒. ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน       ของโรค ได้รับการติดตามประเมินผลเป็นระยะตามที่กำหนดไว้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 11:51 น.