กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเร่งรัดคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุสุมาเจ๊ะเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 118 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของหญิงไทยเป็นอันดับสองรองลงมาจากมะเร็งเต้านม พบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน 30 ปี จนถึงวัยชราอายุ 80 ปี และพบมากในช่วงอายุ 35 – 50 ปี ซึ่งพบมากที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ โดยทุกๆ 2 นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน ขณะที่หญิงไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 คนต่อวัน เป็น 14 คน ต่อวัน ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 100% หรือเสียชีวิตประมาณ 4,500 คน ต่อปี โดยในแต่ละปีจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 9,000 รายต่อปี ซึ่งร้อยละ 40-50 จะเสียชีวิตจากโรค ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก จะตกประมาณ 350 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยหญิงไทยส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมักเกิดความอายความกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่ามีอาการผิดปกติ ความรุนแรงของโรคก็มักอยู่ในระยะลุกลามทำให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม (2558-2560)ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในปี 2558-2560อำเภอกรงปินังได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม3ปี (2558-2560) เป้าหมาย 4,425 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง807 คนคิดเป็นร้อยละ 18.24 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด และการคัดกรองมะเร็งเต้านม ในไตรมาสแรก (ตค. – ธค. 2559 ) เป้าหมาย 5,008 คน ได้รับการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ 2,365ราย คิดเป็นร้อยละ 47.22 ราย ในส่วนของกลุ่มงานเวช มีผลงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปีสะสมปี (2558–2560) เป้าหมาย 730 รายได้รับการตรวจคัดกรองสะสม123 คนคิดเป็นร้อยละ 16.85 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด ซึ่งไม่พบผลผิดปกติ ซึ่งจะต้องดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ60 ( ผลงานสะสม พ.ศ. 2558 – 2560) และคัดกรองมะเร็งเต้านม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและได้รับการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

 

2 2. เพื่อให้สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สะสมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 (ปีงบประมาณ 2558-2560)

 

3 3. เพื่อให้สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย ร้อยละ 100

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมคณะทำงานในการดำเนินงาน
1.2 วางแผนและกำหนดกิจกรรมการดำเนินงาน
1.3 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม.
2.ขั้นดำเนินการ
2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและให้บริการตรวจเต้านม ทุกราย 2.2 ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทั้งในสถานบริการ และ ให้บริการเชิงรุกในชุมชน 3.ขั้นประเมินผล
3.1 ประเมินผลโดยการซักถามความรู้ ความเข้าใจ ในขณะอบรมเชิงปฏิบัติการ
3.2 ประเมินจากการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และคัดกรองมะเร็งเต้านม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีที่มีอายุ 30-70 ปี มีความรู้ และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องและได้รับการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. สตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สะสมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 (ปีงบประมาณ 2558-2560)
  3. สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2559 14:07 น.