กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนสะพานไม้แก่น สุขภาพดีไม่มีเหา
รหัสโครงการ 65-L5187-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 15 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 52,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟารีนา วงค์หมัดทอง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 310 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการสาธารณสุขได้ปฏิรูปไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนเราสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดีขึ้น (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2550) การส่งเสริมสุขภาพเป็นวิธีการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมไทย โดยมุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน การส่งเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนทุกสถานที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ โรงเรียนเป็นสถาบันการสร้างเสริมสุขภาพที่สำคัญ เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนในโรงเรียนและชุมชนร่วมกันจัดโครงสร้างและประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมและดูแลสุขภาพของนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และชุมชนนั้นๆ โดยดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการสส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน โรคเหา เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยเฉพาะนักเรียนหญิง เกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องนอน เสื้อผ้า อีกทั้งเป็นโรคที่น่ารังเกียจ นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญ เนื่องจากมีการคันหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง ทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพและยังเป็นพาหะนำไปติดแก่ผู้อื่นต่อไป วิธีรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นและคนใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้แพร่กระจายและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำ ใช้ยาเพื่อฆ่าเหา ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและเห็นผลชัดเจน   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนสะพานไม้แก่นอนามัยดีไม่มีเหาขึ้น เพื่อรักษาเหา ให้นักเรียนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียนให้ลดลง

ร้อยละ 50 ได้มีการรักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียน

2 เพื่อสร้างความรอบด้าน เรื่อง เหา การดูแลตนเองและการรักษาความสะอาด

 

3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน สมาธิ และบุคลิกภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 310 52,650.00 1 52,650.00
1 พ.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมกำจัดเหาให้แก่นักเรียนหญิง 310 52,650.00 52,650.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดเจตคติและทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ทางด้านสุขภาพแก่เพื่อนนักเรียนและครอบครัว 2. ส่งเสริมสุขภาพมีความรู้รอบด้าน เรื่องเหา การดูแลตนเองและการรักษาความสะอาด 3. รักษาและควบคุมการระบาดของโรคเหาในเด็กนักเรียนให้ลดลงได้ อย่างน้อยร้อยละ 50

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 22:53 น.