กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายแบบแอโรบิคไม้พลองป้าบุญมีเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 65-L8008-02-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแอโรบิคไม้พลอง (ป้าบุญมี) เพื่อสุขภาพเทศบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 29,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพรวดี ดวงปัญญา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ จากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อมทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนจะอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจจะประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ “สร้าง” มากกว่าการ “ซ่อม” สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุก การสร้างเสริมสุขภาพเนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างคุณภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งได้เริ่มจากการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายเป็นเรื่องแรก และบูรณาการกับกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคลและครอบครัว และชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่ร่วมใจแก้ปัญหาสุขภาพของตนเอง และชุมชนโดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่าง ๆ เช่น การเดิน วิ่ง การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น การเต้นแอโรบิค เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอีกทั้งยังทำให้ประชาชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองสตูล โดยชมรมแอโรบิคไม้พลองและยืดเหยียด ตำบลพิมาน ในเขตเทศบาลเมืองสตูล อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้จัดทำโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดี โดยชมรมแอโรบิคไม้พลองและยืดเหยียดในปีงบประมาณ 2565 ในครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกาย ด้วยการเต้นแอโรบิคและยืดเหยียดไม้พลองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นนโยบายของรัฐบาลโดยให้มีการออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ โดยการกระตุ้นทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายส่งผลทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตเยี่ยม เป็นประชาชนที่มีคุณภาพ

 

2 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีร่างกายที่แข็งแรง ลดการบาดเจ็บและลดการเจ็บป่วยในชีวิตประจำวัน

 

3 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายหมดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 29,425.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมออกำลังกายแปโรบิคและไม้พลองช่วงเช้า 45 21,600.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพ 1 ครั้ง 45 7,825.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตเยี่ยมอย่างยั่งยืน
    1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีแข็งแรง ลดการบาดเจ็บและลดการเจ็บป่วยในชีวิตประจำวันได้
    2. ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2565 19:58 น.