กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเรื่องเพศคุยได้ เข้าใจวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 65-L8008-01-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปารีดา หวันสู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิตในหลายๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม มีความอยากรู้อยากลอง มีพัฒนาการทางเพศทำให้เกิดความต้องการทางเพศ นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้     การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่นานาชาติต้องการให้บรรลุได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 – 14 ปี และอายุ 15 – 19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย สำหรับประเทศไทยอัตราการคลอด ในวัยรุ่นของประเทศมีแนวโน้มลดลงทุกปี ข้อมูลล่าสุดในปี 2564 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี
ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2564 เท่ากับ 1.05 ต่อพัน (HDC 16 ส.ค. 64) และอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2564 เท่ากับ 26.20 ต่อพัน (HDC 16 ส.ค. 64) แต่อย่างไรก็ตามยังมีการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี อยู่ในระดับสูง โดยร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า20ปี เท่ากับ13.91 (HDC ณ 16 ส.ค. 64) เนื่องจากปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบในหลายมิติทั้งผลกระทบทางสุขภาพ เช่น ความเสี่ยงต่อสุขภาพเด็กแรกเกิด การทำแท้ง และการทอดทิ้งทารก ผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ผลกระทบต่อการศึกษา ครอบครัว อาชีพและผลกระทบด้านเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้     จังหวัดสตูล มีอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-1๙ ปี ดังนี้ (HDCสสจ.สตูล ๖ ก.ย.๖๕) ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ๓๔๘ คน ๒๘๑ คน ๒๖๒ คน ๑๗๗ คน ๑๓๙ คน     ทั้งนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการพ่อแม่ยุคใหม่ เรื่องเพศคุยได้ เข้าใจวัยรุ่น เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
โดยการกระตุ้นให้พ่อแม่/ผู้ปกครองหันมาเห็นความสำคัญของการพูดคุยกับลูกเรื่องเพศและสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่เยาวชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นให้แก่พ่อแม่/ผู้ปกครอง

 

2 ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกัน และผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

 

3 ๓. เพื่อให้พ่อแม่/ผู้ปกครอง สามารถสื่อสารเรื่องเพศและเพิ่มสัมพันธภาพกับบุตรหลานได้

 

4 4. เพื่อส่งเสริมการลดน้ำหนักให้ลดลง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 110 25,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ ๑ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และเตรียมคู่มือให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 5,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ ๒ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 110 20,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. พ่อแม่ / ผู้ปกครอง มีความรู้ ทัศนคติเชิงบวกในเรื่องการสื่อสารทางเพศกับวัยรุ่น     ๒. พ่อแม่ / ผู้ปกครอง สามารถสื่อสารทางเพศกับวัยรุ่นได้     ๓. อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในชุมชนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2565 09:09 น.