กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพด้วยการเต้นไลน์แดนซ์และลีลาศ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคนรักษ์สุขภาพบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 31 ตุลาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,096.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิทยา ชิตมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือ กลุ่มโรควิถีชีวิต ได้แก่ เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด และ กลุ่มโรคมะเร็ง โดยพบว่าการขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต ๓.๒ ล้านคน ต่อปีของทั้งโลก ประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ ๗๑ ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ๑๑,๑๑๙ ราย ซึ่งจังหวัดสงขลาพบสาเหตุการเสียชีวิต ๑๐ อันดับแรก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การส่งเสริมการออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ เป็นการส่งเสริมให้มีการขยับเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน ในอิริยาบถต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการใช้ และเผาผลาญพลังงานโดยกล้ามเนื้อ อันครอบคลุมการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งหมดในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเดินทางและกิจกรรมนันทนาการ การมีกิจกรรมทางกาย ไม่ว่าจะมีระยะเวลารูปแบบหรือความหนักเบาเท่าไร ย่อมดีกว่าการไม่มีกิจกรรมทางกาย หรือมีแต่พฤติกรรมเนือยนิ่ง ดังนั้นการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย จึงให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพของประชาชน เพราะการมีกิจกรรมทางกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังและช่วยพัฒนาสุขภาพจิตของผู้ใหญ่ ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น บ้านหูแร่ มีกลุ่มออกกำลังกายในพื้นที่ ที่รวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมการออกกำลังกายร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย กลุ่มแอโรบิก กลุ่มลีลาศเพื่อสุขภาพ จนกระทั่งต้นปี ๒๕๖๓ ถึง ปี ๒๕๖๔ ได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ส่งผลกระทบให้การรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกายของประชาชนในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป ตามแนวคิด “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ”และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – ๑๙ อย่างเคร่งครัด ทำให้ประชาชนมีการออกกำลังกายลดลง ซึ่งเป็นผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง และในต้นปี ๒๕๖๕ รัฐได้มีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-๑๙ ลง โดยสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้ภายใต้มาตรการป้องกันโรคที่กำหนด กลุ่มแอโรบิกบ้านหูแร่ ได้มีการรวมตัวของสมาชิกที่มีความชื่นชอบรูปแบบการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ทุกวัน ณ ลานโรงเรียนวัดหูแร่ ซึ่งรูปแบบการออกกำลังกายดังกล่าวเหมาะกับประชาชนบางกลุ่มเท่านั้น
สมาชิกในชุมชนบ้านหูแร่ จำนวน ๒๐ คน จึงได้รวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกันในรูปแบบการเต้นไลน์แดนซ์ วันละ 1 ชั่วโมง ณ ลานกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชนบ้านหูแร่ ประมาณ ๕-๖ เดือน ซึ่งรูปแบบการเต้นเป็นการผสมผสานระหว่างลีลาศและแอโรบิก มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนทิศทาง เน้นการก้าวเป็นหลัก มีแรงกระแทกต่ำ เหมาะกับวัยสูงอายุ แต่ในการจัดกิจกรรมพบปัญหา คือ ชุดเครื่องเสียงไม่พร้อมใช้งาน ประกอบกับสมาชิกส่วนหนึ่งได้เข้าร่วมฝึกอบรมในการเป็นแกนนำออกกำลังกาย และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนและพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำออกกำลังกาย ร่วมกับเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา กลุ่มรักษ์สุขภาพบ้านหูแร่ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมการออกกำลังในชุมชนบ้านหูแร่ แก่ประชาชนในพื้นที่ให้มีรูปแบบการออกกำลังกายทางเลือกที่หลากหลาย มีสถานที่ที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่พบว่าร่างกายของผู้สูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมสภาพตามวัย จึงจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ด้วยการเต้นไลแดนซ์และลีลาศ เพื่อขอรับงบประมาณอุดหนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ในการขับเคลื่อนให้ประชาชนในชุมชนบ้านหูแร่ โดยการสร้างกระแสและส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียงมีรูปแบบการออกกำลังกายทางเลือก เพื่อสุขภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกและประชาชนมีรูปแบบการออกกำลังกายทางเลือกที่หลากหลาย

1.ร้อยละ 80 ของสมาชิกทั้งหมดมีกิจกรรมจากกายเป็นประจำทุกครั้ง 2.มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,096.00 0 0.00
3 - 31 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 0 500.00 -
3 - 31 ต.ค. 65 งาน“รักษ์สุขภาพ” 0 7,796.00 -
3 ต.ค. 65 - 30 ธ.ค. 65 กิจกรรมออกกำลังกาย ด้วยการเต้น ไลแด๊นซ์ และลีลาศ 0 25,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สมาชิกและประชาชนบ้านหูแร่ มีรูปแบบการออกกำลังกายทางเลือก เพื่อการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2565 11:07 น.