กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2566 หมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 66-L5239-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2566
งบประมาณ 7,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมหมาย แก้วดีเลิศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.58,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 7,850.00
รวมงบประมาณ 7,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
90.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้บ่อยและมักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นต้น เนื่องจากโรคดังกล่าวไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูง การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ยังไม่ป่วย จะได้ทราบผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วย       จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดีหลวง ในปี 2565 หมู่ที่ 1 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ไม่รวมผู้ป่วย) ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 160 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 144 คน ร้อยละ 90.00 ปกติ 121 คน ร้อยละ 84.03 เสี่ยง 23 คน ร้อยละ 15.97 สงสัยป่วย 0 คน ร้อยละ 0.00 และประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ไม่รวมผู้ป่วย) ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 190 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 175 คน ร้อยละ 92.11 ปกติ 91 คน ร้อยละ 52.00 เสี่ยง 61 คน ร้อยละ 34.86 สงสัยป่วย 23 คน ร้อยละ 13.14       การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน โดยการวัดความดันโลหิตและการเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรสุขภาพที่เหมาะสม เป็นกิจกรรมเบื้องต้นที่จะช่วยไม่ให้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ หากประชากรในหมู่บ้านให้ความสำคัญและมาตรวจคัดกรองอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งผ่านการอบรมและฝึกปฏิบัติในการวัดความดันโลหิตและการเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดที่ปลายนิ้ว มีบทบาทหน้าที่ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน แต่ยังขาดวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ดังนั้น คณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 160 คน (ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 160 คน (ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

160.00
2 เพื่อให้ประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป 190 คน (ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

ประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป 190 คน (ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

190.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

90.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป 160 คน (ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป 190 คน (ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 15 พ.ย. 65 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้แก่ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เครื่องชั่งน้ำหนักผู้ใหญ่ เข็มเจาะ แถบตรวจน้ำตาลในเลือดสำลีแอลกอฮอล์ 0.00 7,850.00 -
28 ก.ย. 65 กิจกรรมย่อย ซื้อวัสดุแถบตรวจน้ำตาลในเลือด 190.00 3,000.00 -
1 - 15 พ.ย. 65 กิจกรรมย่อย ซื้อครุภัณฑ์ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล 160.00 2,500.00 -
1 - 15 พ.ย. 65 กิจกรรมย่อย ซื้อครุภัณฑ์ เครื่องชั่ง 350.00 1,000.00 -
1 - 15 พ.ย. 65 กิจกรรมย่อย ซื้อวัสดุเข็มเจาะ จำนวน 1 กล่อง (200 ชิ้น/กล่อง) 190.00 750.00 -
1 - 15 พ.ย. 65 กิจกรรมย่อย ซื้อวัสดุสำลีแอลกอฮอล์ 190.00 600.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป(ไม่รวมผู้ป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  2. ผู้ป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน ลดลงจากปี 2565
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2565 17:20 น.