กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านโรคระบาดหรือภัยพิบัติในเขตพื้นที่ เทศบาลเมืองสะเดา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L7252-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 15 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 300,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุจิรา ไชยเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรุจิรา ไชยเจริญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภัยคุมคามต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติเกิดขึ้นได้เสมอโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น โรคติดเชื้อชนิดใหม่ โรคติดเชื้อกลายพันธุ์ โรคติดเชื้อที่พบในพื้นที่ใหม่รวมทั้งภัยพิบัติซ้ำ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นในอดีตและสงบไปแล้วกลับมาระบาดใหม่เนื่องจากยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีปัจจัยมากมายในการส่งเสริมหรือเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ และมีการระบาดอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรม ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การรบกวนธรรมชาติและระบบนิเวศ การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วเหล่านี้ล้วนมีส่วนในการทำให้เกิดโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำมากมาย
ปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากเป็นภัยต่อสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมือง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ซึ่งมีหน้าที่ในการเฝ้าระวังป้องกัน และแก้ไขปัญหาจำเป็นจะต้องเตรียมการในเรื่องดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แต่เนื่องจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ จึงจำเป็นจะต้องจัดเตรียมงบประมาณ บุคลากร และเครื่องมือ เพื่อใช้ในการดำเนินงานดังกล่าวในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้สามารถดำเนินการ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติได้ทันท่วงทีและมีประสสิทธิภาพ

 

2 1.2 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคหรือภัยพิบัติให้อยู่ในวงจำกัด ไม่มีการระบาดเพิ่มขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนวางแผนงาน 1. ร่วมประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหา และรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2. ประสานงานหน่วยงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 3. จัดทำโครงการเสนอต่อประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ เพื่ออนุมัติงบประมาณในการจัดทำโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ระบาดหรือมีภัยพิบัติเกิดขึ้น สามารถรู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคระบาด หรือภัยพิบัติได้อย่างถูกต้อง
  2. ลดอัตราการป่วยหรือตายจากโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2565 09:38 น.