กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง
รหัสโครงการ 2566-L8010-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 พฤศจิกายน 2565 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 66,315.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น ในเขตตำบลกำแพง ที่มีปัญหาโรคซึมเศร้าและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
26.39

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-30 กันยายน 2564 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง 28% เสี่ยงซึมเศร้า 32% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22% ข้อมูลปี 2564 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 7 คนของประชากรโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปีและจากการประเมินพบว่า เด็กอายุ 10-19 ปี กว่า 1 ใน 7 คนทั่วโลกมีความป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และวัยรุ่นเกือบ 46,000 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในวัยรุ่นในประเทศไทยและที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

จากข้อมูลงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นในที่เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย รวมถึงพยายามฆ่าตัวตายซ้ำจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าในปี 2563 จำนวน 33 รายปี 2564 จำนวน 41 รายและในปี 2565 จำนวน 72 ราย ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวที่มีภูมิลำเนาในตำบลกำแพง มีจำนวน 15, 11และ 19 รายตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงคือเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 9-20 ปีปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้ลงมือทำร้ายตนเอง ได้แก่ปัญหาเรื่องสัมพันธ์ภาพในภายในครอบครัว ปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน ได้แก่ กินยาเกินขนาด ,ใช้ของมีคม ของแข็ง ซึ่งโรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และมีกลุ่มเสี่ยงต่อการจะเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าถึงบริการมากขึ้นทุก ๆ ปี แต่เรากลับมีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการรับมือ การให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษาที่น้อยมาก

จากสถานการณ์ดังกล่าว งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น เขตตำบลกำแพง”ขึ้นเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและทันท่วงที เปลี่ยนทัศนคติเชิงลบผ่านการพูดคุย การลดการตีตรา และการสร้างเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้แก่เด็ก วัยรุ่น รวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและสังคมโดยรวม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพจิต ให้มีความรู้ความเข้าใจใน การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
  1. แกนนำสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ 80
60.00 80.00
2 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าและมีพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น โดยบุคลากรทางการศึกษา(ครู)ผู้ปกครองและแกนนำนักเรียน
  1. อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น ร้อยละ 80

  2. อัตราของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นลดลง ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,315.00 6 66,315.00
1 - 31 ม.ค. 66 กิจกรรมประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิตในพื้นที่ 0 475.00 475.00
1 - 28 ก.พ. 66 กิจกรรมค้นหาเด็กและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 0 3,100.00 3,100.00
1 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น(หลักสูตร 2 วัน) 0 25,895.00 25,895.00
1 มี.ค. 66 - 22 เม.ย. 66 กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น 0 35,845.00 35,845.00
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การจัดทำรายงานโครงการและการนำเสนอโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อได้
2.อัตราการเข้าถึงบริการของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เขตตำบลกำแพงมีจำนวนเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2565 13:55 น.