กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน1 ธันวาคม 2566
1
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย โรงพยาบาลละงู L8010-007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการรักษา
  2. ติดตามผลการยึดติดของวัสดุ การสูญเสียฟัน อาการปวดฟัน และการผุซ้ำของฟันน้ำนม ภายหลังการรักษา 3 เดือนเพื่อประเมินความสำเร็จของการรักษา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการติดตามผล 3 เดือนภายหลังการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART และและหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 76 คน คิดเป็นร้อยละ 76.77 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการรักษา ปรากฏดังนี้

1.เด็กที่ได้รับการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART

- สุ่มตรวจทั้งหมด 191 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 65.41

- การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 178 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 93.19

- หลุดบางส่วน 13 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 6.81

2.เด็กที่ได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์

- สุ่มตรวจทั้งหมด 157 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 72.35

- ฟันผุหยุดยั้งทั้งหมด 142 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 90.45

จากการสุ่มตรวจหลังการได้รับการอุดฟันแล้ว 3 เดือนแล้วพบว่าเด็กไม่มีอาการปวดฟันหลังการรักษาคิดเป็นร้อยละ 100 คุณภาพชีวิตหลังการรักษาพบว่า เด็กสามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ

รายงานผลโครงการ1 สิงหาคม 2566
1
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการ จำนวน 4 เล่ม

กิจกรรมด้านการรักษา/ฟื้นฟู1 สิงหาคม 2566
1
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย โรงพยาบาลละงู L8010-007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ให้การบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ และผู้ปกครองให้ความยินยอม
  • ให้คำแนะนำและส่งต่อการรักษาในรพ. กรณีเกินศักยภาพ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 255 คน ณ วันที่ดำเนินโครงการมีจำนวน 251 คน - ได้รับการบริการและตรวจฟัน 201 คน  คิดเป็นร้อยละ 80.08 - มารับการรักษาตามนัด 157 คน    คิดเป็นร้อยละ 78.11 - ปราศจากฟันผุ 66 คน      คิดเป็นร้อยละ 32.84 - มีฟันน้ำนมผุ 135 คน  คิดเป็นร้อยละ 67.16 - ได้รับการรักษาโดยการอุดฟันเพียงร้อยละ 9.56 - มีฟันกรามน้ำนมผุสามารถบูรณะได้ 128 คน 375 ซี่ - ได้รับการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART 99 คน 292 ซี่ (จำนวนคนที่ได้บูรณะคิดเป็นร้อยละ 77.34 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.87) - มีฟันน้ำนมที่ต้องได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 129 คน 415 ซี่ - ผู้ปกครองให้ความยินยอมในการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 67 คน - ได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 67 คน 217 ซี่ (จำนวนคนที่ได้รักษาคิดเป็นร้อยละ 51.94 และจำนวนซี่ที่ได้รักษาคิดเป็นร้อยละ 52.29) - เด็กที่ได้รักษา Completed case 79 คน คิดเป็นร้อยละ 50.32 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันกรามแล้วนั้น เด็กจะสามารถเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น สามารถควบคุม ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ป้องกันการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนวัยอันควร และการเกิดฟันผุในฟันแท้

กิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกัน20 กรกฎาคม 2566
20
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย โรงพยาบาลละงู L8010-007
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อบรมฟื้นฟูทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก   1) ฝึกทักษะการแปรงฟันแบบ Hand on Tooth Brushing     2) ประเมินผลโดยภาพรวม สามารถจัดท่าแปรงฟันได้ถูกต้องแปรงได้สะอาด ทั่วถึง
  • ให้ความรู้ ความเข้าใจ การอุดฟันแบบ SMART และการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์หยุดยั้งฟันผุ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
  • เด็กเล็กในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนม