กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัย ใส่ใจสร้างเสริมสุขภาพ รพ.สต.คลองแงะ
รหัสโครงการ 66-50087-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.คลองแงะ
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประไพ คำพรหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 441 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
67.58
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
25.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางประชากรอัตราการเกิดและอัตราการตายลดลงพร้อมกับอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นของคนไทย ทำให้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยในระยะเวลาอันสั้นซึ่งการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของประชากรภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและสุขภาพ การรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวจำเป็นต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายในสังคมต้องมีการพัฒนาและจัดการองค์ความรู้อย่างบูรณาการลงไปสู่การดูแลผู้สูงอายุที่เสี่ยง กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2559 – 2579) โดยมีเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ (active and health ageing) คือ ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง ดำรงชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ คือ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในสังคม โดยมีมาตรการพัฒนาบริการสุขภาพและสังคม เน้นให้มีชมรมผู้สูงอายุทุกตำบลในรูปแบบต่าง ๆ มีศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ จากมาตรการและแนวคิดการใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่กระทรวงสาธารณสุขคาดหวังในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุ จากการคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วย ADL จำนวน 369 คน คิดเป็นร้อยละ 83.67 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม 344 คน ร้อยละ 93.22 กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 25 คน ร้อยละ 6.77 (กลุ่มติดบ้าน 16 คน ร้อยละ 4.33 และกลุ่มติดเตียง 9 คน ร้อยละ 2.43)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

25.00 24.00
2 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

67.58 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม 0 11,000.00 -
17 ก.พ. 66 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและภาวะสุขภาพ จำนวน 1 ครั้ง 0 4,000.00 -
17 มี.ค. 66 3.กิจกรรมประชุมใหญ่สมาชิกประจำปี และแนะนำการดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อลดการเจ็บป่วย 20/12/66 0 5,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี สามารถดำรงชีวิตด้วยความสุข ตามอัตภาพ
  2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลและได้รับความช่วยเหลือตามสภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565 00:00 น.