กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ ๓ บ้านนาตาล่วง
รหัสโครงการ 61-L1491-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนบ้านนาตาล่วง
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2561 - 20 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.584,99.596place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและเป็นโรคติดต่อ
ที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยมียุงลายเป็นตัวพาหะนำเชื้อมาสู่คน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการระบาดและ มีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้น
และการคมนาคมที่สะดวกขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อโรคเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดการระบาด ของโรคแล้ว จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่มักเกิดโรคในเด็กนักเรียน ส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มอายุ 15-24 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 10-14 ปีเมื่อเกิดโรคหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้ว จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 1 มกราคม – 16 พฤษภาคม 2561 ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 9,577 ราย อัตราป่วย 14.64 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 14 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.15 จังหวัดตรังอยู่ในลำดับที่ 23 ของประเทศอัตราป่วยของอำเภอเมืองอยู่ในลำดับที่ 4 ของจังหวัดตรัง ตำบลนาตาล่วงอัตราป่วยอยู่ในลำดับที่ 7 ของอำเภอเมืองมีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 11 ราย หมู่ที่ 3 บ้านนาตาล่วง มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้วจำนวน 9 ราย อัตราป่วย 1,502.50ต่อแสนประชากร ชมรมอสม.ชุมชนบ้านนาตาล่วงเล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำ “โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่3บ้านนาตาล่วง” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกตระหนักถึงความอันตรายของโรคสามารถดูแลควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และอสม.นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนแบบเคาะประตูบ้าน รวมทั้งให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอันจะส่งผลให้ลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1)เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 1.2)เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอจนไม่สามารถที่จะส่งผลต่อการเกิดการระบาดของโรคได้ 1.3)เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
22 พ.ค. 61 - 10 ก.ย. 61 ลงควบคุมโรคไข้เลือดออกบ้านที่เกิดโรคในชุมชน 0 1,400.00 -
22 พ.ค. 61 - 10 ก.ย. 61 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 12,500.00 -
22 พ.ค. 61 - 10 ก.ย. 61 สรุปผลรายงาน 0 1,045.00 -
3 มิ.ย. 61 - 3 พ.ค. 61 อบรมให้ความความรู้ 0 10,580.00 -
3 มิ.ย. 61 - 30 ส.ค. 61 กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 9,475.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1) เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 2) ประชุมคณะทำงาน 3) จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 4) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ ขั้นที่ 2 กิจกรรมประชุมอบรมเรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 1) ประชุมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในชุมชน 2) แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกทุกครัวเรือน ขั้นที่ 3 กิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก 1) อสม.และเครือข่ายลงพื้นที่ X-Ray ในพื้นที่ค้นหาผู้ป่วย,กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และรณรงค์ทำความสะอาดบ้านเรือน เก็บขยะสองข้างทาง จำนวน 2 ครั้ง 2)สำรวจหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย เดือนละ 1 ครั้ง (พค.-กย.61) 3) แจกทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกครัวเรือนและโลชั่นกันยุงแก่ผู้ที่มีอาการไข้ทุกราย ขั้นที่ 4 กิจกรรมประกวดบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย 1) ออกรณรงค์และลงประเมินบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง 2) มอบเกียรติบัตรให้บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายในชุมชน จำนวน 15 ครัวเรือน ขั้นที่ 5 กิจกรรมการลงควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านที่เกิดโรค 1) ลงสอบสวนโรคและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านผู้ป่วยและบ้านใกล้เคียง 2) ประสานเทศบาลพ่นหมอกควันในรัศมี 100 เมตร ของบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก ขั้นที่ 6 สรุปผลโครงการและรายงานผลต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.) ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ร้อยละ 60 ของครัวเรือน 2.) ประชาชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก 3.) อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงและค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง ร้อยละ 80 ของครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2560 14:06 น.