กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-50105-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 77,480.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1774 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 315 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?) จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95ต่ำกว่าในระดับประเทศ อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปีจากสถิติตั้งแต่2558 – 2560ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้4.615,5158,5,483 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานจึงเป็นทางเลือกที่ดีการป้องกันและควบคุมโรคสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

3 เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) มารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL ได้รับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

4 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 35-65ปี ที่มีความเสี่ยง CVD risk

ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 35-65ปี ที่มีความเสี่ยง CVD risk ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

5 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,080.00 4 77,480.00
13 พ.ย. 60 กิจกรรมคัดกรองเบาหวานอความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 0 18,180.00 18,180.00
29 มี.ค. 61 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ 0 6,175.00 6,175.00
9 เม.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. 0 24,075.00 36,725.00
25 เม.ย. 61 กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 35-ุ65 ปี ความเสี่ยง CVD rist 0 10,650.00 16,400.00

๑. สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ๒. จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อวัสดุการแพทย์ ๓. ชี้แจงให้ อสม.ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย ๔. ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้ ๕. รวบรวมข้อมูลลงบันทึกผลการปฏิบัติงานในโปรแกรม JHCIS ๖. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง ๗. ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) มารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๘. ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ จ่ายยารักษา ตาม CPG หลังติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำแล้วยังมีค่าความดันฯตัวบนมากกว่า ๑๔๐และ/หรือ ตัวล่างมากกว่า 90 มม.ปรอท,และค่าน้ำตาลจากหลอดเลือดดำ (FBS) มากกว่า 125 มก.เปอร์เซ็นต์
๙. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 35-65ปี ที่มีความเสี่ยง CVD risk
๑๐. จัดกิจกรรมให้บริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ ๑๑. รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน ๑๒. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙๐
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้ร้อยละ 60
  3. อัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 2.4 ๔. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. ๕. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ๖. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยง CVD risk ลดลง
  4. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติทางเท้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2560 15:39 น.