กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ในปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L7484-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายชรินทร์รัฐฐ์ ครุฑธิราช
วันที่อนุมัติ 27 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 28 กุมภาพันธ์ 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 19,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชรินทร์รัฐฐ์ ครุฑธิราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความปลอดภัยของอาหารเป็นประเด็นทางสาธารณะสุขที่สำคัญยิ่งอีกปัญหาหนึ่งของประเทศไทยขณะที่รัฐบาลต่างๆทั่วโลกกำลังพยายามทุกวิถีทางที่จะปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากได้เกิดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความวิตกกังวลของผู้บริโภคทีมีสูงขึ้นด้วย การเกิดโรคจากอาหารเป็นสาเหตุมีเกิดอย่างแพร่หลาย มีอัตราการป่วยที่สูงในระดับต้นๆของประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา ผู้ประกอบการอาหารในเขตเทศบาลตำบลวังวิเศษ ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาหาร ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายให้แก่กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ เช่น เด็ก เยาวชน ประชาชนในเขตเทศบาล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการการและผู้สัมผัสอาหาร ต้องมีความรู้ทางด้านสุขาภิบาลอาหารตามมาตรฐานของกรมอนามัย และอาหารต้องสะอาดมีความอร่อยตามเกณฑ์ “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)” ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัยไม่ป่วยด้วยระบบทางเดินอาหาร ที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อนำโรคมาสู่ร่างกาย ดังนั้นเทศบาลตำบลวังวิเศษ โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาใช้ประโยชน์ สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารให้ลดลงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตเทศบาลและนักท่องเที่ยวผู้สัญจรไปมาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการ/วางแผนการดำเนินโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย 4.ประเมินร้านอาหารและแผงลอยตามเกณฑ์ของกรมอนามัย
  4. ติดตามและประเมินผลหลังผ่านการอบรมและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยได้ยกระดับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  2. ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยร้อยละ 80 เกิดความตระหนักในการปรุงและประกอบอาหารที่ ปลอดภัยและถูกหลักอนามัย
  3. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย”
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2565 14:11 น.