กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี
รหัสโครงการ 66-L4149-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปะแต
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 64,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีฮัน ชูแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.344,101.139place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดีนั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำเพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างเรียบร้อย ลดความเสียงอันตรายที่จะเกิดชื้นทั้งกับตัวคุณแม่และลูกในท้อง นอกจากนี้ยังรวมถึงการตรวจหลังคลอด เพื่อการดูแลอย่างถูกวิธีด้วย ซึ่งการฝากครรภ์คุณภาพจะยิ่งช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการของการตั้งท้องในแต่ละช่วงเวลาเพื่อปรับตัวให้เหมาะสม อย่างไรก็ตามการฝ่ากครรภ์คุณภาพนั้นจะต้องมาฝากครรภ์อย่างน้อย 8 ครั้ง และฝากครรภ์ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ใด้รับคำแนะนำ และได้รับบริการการดูแลที่ เหมาะสม (กรมอนามัย, 2558) นอกจากนี้การตั้งครรภ์ทำให้หญิงตั้งครรภ์ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและสังคมเช่น บทาทหน้าที่ ภาพลักษณ์สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงต้านสรีรวิทยาจะมีการสร้างเชลล์และเนื้อเยื่อต่งๆมากกว่าระยะอื่นๆ ทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ในระยะนี้หากหญิงตั้งครรภ์ใด้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะมีผลเสียทั้งแก่หญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม โดยการฝากครรภ์ครั้งแรกควรทำในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ก่อนหรือเมื่อตั้งครรภ์ใต้ 12 สัปดาห์ การมาฝากครรภ์ครั้งแรกนั้น เพื่อเน้นการหาประวัติทางการแพทย์และประวัติทางสูติกรรม ซึ่งเป็นองค์ประกอบ พื้นฐานในการดูแลหญิงตั้งครรภ์แวใหม่ขององค์การอนามัยโลก (กรมอนามัย, 2563) สถานการณ์ด้านสุขภาพแม่และเต็กในประเทศไทยแม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหาอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ 8 ครั้งตามเกณฑ์ และการเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์เองและพัฒนาการของทรกหลายด้าน ตังนั้นหากตั้งครรภ์จึงรีบมาฝากครรภ์ซึ่งจะทำให้หญิง ตั้งครรภ์และทารกได้รับการดูแลสุขภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ขณะคลอดหลังคลอดและคลินิกเต็กสุขภาพดี รวมทั้งได้รับความรู้ในการดูแลครรภ์ด้านต่างๆ อีกด้วย (กรมอนามัย, 2564) สถานการณ์การฝากครรภ์ครั้ง แรกก่อน 12 สัปตาห์ของจังหวัดยะลา ระหว่างปีงบประมาณ 2563, 2564 และ2565 มีแนวโน้มลดลงจาก ร้อยละ 81.10, 71.09 และ 73.38 ตามลำดับ (HDC, 2565) และ สถานการณ์การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามกณฑ์ การได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ และภาวะซีดใกล้คลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปะแต ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ในปีงบ 2563, 2564, 2565 ร้อยละ 78.42, 53.48 และ 69.00 ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ในปีงบ 2563, 2564, 2565 ร้อยละ 72.82, 77.48, 74.54 การได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ในปีงบ 2563, 2564, 2565 ร้อยละ 74.42, 68.14, และ 58.84 (HDC, 2565) ภาวะซีดใกลัคลอด ในปีง 2563, 2564, 2565 ร้อยละ 40.42, 50.18 , 44.42 ซึ่งยังไม่บรรลุตามตัวชี้วัดระดับกระทรวงสาธารณสุขคือ อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 75 ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 85 การได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 100 และภาวะชีดในหญิงตั้งครรภ์ต้องน้อยกว่ ร้อยละ 10 นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับทารกที่คลอดในโรงพยาบาลพระยุพราชยะหา ได้แก่ อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม และอัตราการตกเลือดหลังคลอดยังมีการเกิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นต้องมีการฝากครรภ์คุณภาพและการได้รับการดูแลหลังคลอดตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก จากปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปะแต จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อมารดาและทารกสุขภาพดี เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในระยะยาว กับมารดาและทารกในโรงพยาบาลและชุมชนอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองใน ระยะตั้งครรภ์ และระยะหลังคลอดได้

ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และ ดูแลตนเองระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

2 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และได้คลอดในโรงพยาบาล ได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ไม่มี ภาวะซีดใกล้คลอดและหลังคลอด คลอดทารกแรกเกิดนำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม
  • ร้อยละ 10 ของหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอดไม่มีภาวะซีด
  • ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
  • ร้อยละ 75 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
  • ร้อยละ 100 ของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์ในชุมชน ไม่เกินร้อยละ ๑0 2. มีแกนนำในชุมชน และเครือข่าย อสม.มีความข้มแข็งและสนับสนุนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ส่งผลให้มารดาและทารกมีสุขภาพที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2565 10:58 น.